แนวคิดในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam
Based Learning
การจัดการเรียนรู้แบบทีม
(Team-Based Learning) หรือการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานเป็น
รูปแบบการสอนที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนา
โดยนักการศึกษาชาวอเมริกา คือ Larry K. Michaelsen จาก University
of Oklahomaต่อมามีผู้สนใจนำไปใช้แพร่หลาย
โดยโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 77 แห่งใช้วิธีนี้
รวมทั้งโรงเรียนพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆด้วยเป้าหมายของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam
Based Learningมีดังนี้
1.
สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา
2.
พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา
3.
เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.
ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม
5.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
หลักการสำคัญ 4
ประการ ของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning
1 Group
Formation มีการจัดทีมอย่างเหมาะสม คือ แบ่งทีมย่อย
ตามทักษะและความสามารถ
อย่างหลากหลาย
กลุ่มละ 7-12 คนและควรเป็นทีมถาวร
แนวทางการจัดการเรียนรู้:
ร่วมจัดทีมอย่างเป็นทางการในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
1.1
ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่นทักษะผู้นำ
การ
สืบค้น
การคิดวิเคราะห์การนำเสนอ เป็นต้น
1.2
ครูช่วยดูแลการจัดกลุ่มเพื่อลดปัญหาด้านความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ การไม่แยก
ออกจากกลุ่มเพื่อน
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้การท างานต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด ต่างมุมมอง
1.3 จัดคนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมา
ตามข้อ 1.1 ให้มีการกระจายคุณสมบัติที่จำเป็นของ
ผู้เรียนครบทุกกลุ่ม
1.4
การจัดกลุ่มควรเป็นกลุ่มถาวร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามลำดับปัญหาที่พบ
ในแต่ละกลุ่ม
2
Accountable ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน
การช่วยเหลือกันในการทำงานของทีมโดยต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในงานส่วนตัวและงานกลุ่มแนวทางการจัดการเรียนรู้:
มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้า หรือจัดให้มีการศึกษารายเดี่ยวก่อนเข้ากลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
2.1 มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้าด้วยการกำหนดขอบเขตหรือเป้าหมายของ
การศึกษาให้ชัดเจน
2.2 ทำแบบทดสอบรายเดี่ยวก่อนการเรียนรู้เพื่อทดสอบและกระตุ้นการเตรียมความพร้อมของ
ผู้เรียนก่อนการเข้าแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
2.3 นำแบบทดสอบเข้าไปปรึกษาในกลุ่ม
อภิปรายเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดจากกลุ่ม
กระบวนการนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกัน
ก่อนได้คำตอบของกลุ่ม
2.4
สะท้อนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านกลุ่ม
2.5
ครูสะท้อนความคิด และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่กลุ่มอภิปรายแล้วมีข้อขัดแย้ง
ไม่
ชัดเจนหรือไม่ครอบคลุมและเสริมแรงในกรณีที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมาะสม
3 Assignment
Quality การมอบหมายงานจะต้องเน้นทั้งด้านผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายรายวิชาที่กำหนดไว้และด้านผลจากการท
างานเป็นทีมแนวทางการจัดการเรียนรู้:มอบหมายใบงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน
ที่เน้นทั้งเป้าหมายวิชาและกระบวนการกลุ่ม
3.1
การมอบหมายงานต้องเน้นการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กลุ่ม
3.2
มอบหมายสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้ทีมได้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดและ
วัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เรียนรู้
ทั้งนี้ลักษณะของงานที่มอบหมายในการเรียนรู้
ควรประกอบด้วยหลักการ 4 Ss
3.2.1
Significant Problem เป็นปัญหาที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้นั้น
3.2.2 Same
Problem ปัญหาเดียวกันในทุกกลุ่ม
3.2.3
Specific Choice มีทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง
3.2.4
Simultaneous Reporting รายงานพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน
3.3 การนำเสนอผลการเรียนรู้ อาจจะเป็นการนำเสนอปากเปล่าหรือรายงานก็ได้ แต่ต้องไม่
ยุ่งยากซับซ้อน
หรือใช้เวลาในการเรียนการสอนมากเกินไป
3.4
นอกจากการอภิปรายในกลุ่มแล้ว ควรจัดให้มีการอภิปรายระหว่างกลุ่มด้วย
4 Timely
feedback ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการ feedback อย่างทันเวลาและสม่ำเสมอ
แนวทางการจัดการเรียนรู้:ประเด็นในการ
feedback ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ
ครอบคลุมทั้งผลการเรียนรู้และผลของกระบวนการกลุ่ม
4.1
ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาของทีม
4.2 การ feedback
ต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากกระบวนกลุ่มทุกครั้ง
4.3 การ feedback
ต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดกระบวนการเรียนรู้และมีการติดตาม
พัฒนาการในการทำงานเป็นทีมแต่ละประเด็นที่เคยเป็นปัญหาทั้งนี้กระบวนการในการ
ประเมินผลและสะท้อนคิดมีจุดเน้นดังนี้
4.3.1
ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายรายวิชา
4.3.2
ให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองและกลุ่มเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม
4.3.3
ผู้สอนสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
4.3.4
การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตาม
เป้าหมายรายวิชาและครอบคลุมทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้
เช่น การ
คิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม
การสื่อสาร และอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น