วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
อัธยาตมวิทยา
นิรมล ตีรณสาร สวัสดิบุตร (2548 : 7 – 8) ได้กล่าวไว้ว่า หนังสือ อัธยาตมวิทยา (อ่านว่า อัด-ทะยาต-ตะ-มะ-วิด-ทะ-ยา) หมายถึง ความรู้ที่เกี่ยวกับจิตใจของคน ซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้เป็นครูจําเป็นต้องรู้ เพราะ ทํางานกับคน เป็นตําราวิชาครูของกรมศึกษาธิการ ที่เขียนโดย ขุนจรัสชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร) พิมพ์ เผยแพร่ในปี ร.ศ. 125 (พ.ศ.249) อาจารย์ผู้สอนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในสถาบันผลิตครูยิ่งควรอ่าน และเชิญ ชวนให้นิสิต นักศึกษาอ่านด้วย และเสนอแนวคิดเพิ่มเติมว่า ในการเขียนตํารา ควรอ่านแล้วปรับปรุงตํารา ให้ทันสมัยเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสม พยายามให้ได้ใจความและเลือกสรรเฉพาะเรื่องที่จําเป็นสําหรับครูจริง ๆ ตลอดจนการใช้วิธีเขียนและภาษาที่เข้าใจง่ายเช่นเดียวกับที่ตําราอัธยาตมวิทยานี้แสดงตัวอย่างไว้ หนังสืออัธยาตมวิทยา แบ่งเป็นตอนใหญ่ๆ 10 ตอน คือ
1. วิทยาศาสตร์แห่งร่างกายและวิทยาศาสตร์แห่งจิตใจ ซึ่งเน้นว่า ครูที่ดีจะต้องรู้อาการของจิตใจ เรียนให้ละเอียด เหมือนแพทย์ที่ดีต้องรู้อาการของร่างกายคนไข้
2 ลักษณะทั้งสามของจิตใจ (ความกระเทือนใจ ความรู้ ความตั้งใจ) มีการแบ่งชั้นของความเจริญ ของจิตใจไว้ 3 ชั้น คือ อายุ17 ปี 7-14 ปี และ 14 - 21 ปี ซึ่งเป็นช่วงอายุของคนที่ที่เป็นลูกศิษย์ของครูอาจารย์
3. ความสนใจ มีสองชนิด คือ ที่เกิดขึ้นเอง และที่ต้องทําให้เกิดขึ้น
4. ความพิจารณา มีการเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนว่าเด็กในกรุงเทพฯ กับเด็กบ้านนอกมีความ พิจารณาต่างกันอย่างไร และครูของเด็กทั้งสองพวกนี้ควรส่งเสริมเด็กต่างกันอย่างไร นอกจากนี้ยังมี ข้อแนะนําที่น่าสนใจสําหรับครูในการสอนวิชาต่าง ๆ เช่น ภูมิศาสตร์ ไวยากรณ์ พงศาวดาร การเขียนลายมือ และวาดรูป
5. ความเจริญของอาการทั้งห้า (รู้สึก เห็น ฟัง ชิม ดม) มีการกล่าวถึงหน้าที่ของครูในการหัด อาการทั้ง 5 และบอกวิธีหัดอาการบางชนิดไว้ด้วย เช่น หัดให้รู้จักสี หัดให้รู้จักรูป หัดให้รู้จักหนทางไกล (การวัดการคาดคะเน) หัดให้รู้จักรูปด้วยอาการสัมผัส หัดอาการฟังด้วยการอ่าน-ด้วยเพลง หัดอาการคมและ อาการชิม
6. ความจํา มีเรื่องลืมสนิท และลืมไม่สนิท จําได้และนึกออก ชนิดของความจําและเรื่องที่ครูควร อ่านเป็นอย่างยิ่ง คือ สิ่งที่ครูควรถือเป็นหลักในเวลาที่จะให้นักเรียนจํา สิ่งที่ควรให้นักเรียนท่องขึ้นใจ และสิ่ง ที่ไม่ควรให้นักเรียนท่อง
7. ความคิดคํานึง วิธีฝึกหัดความคิดคํานึงให้ดีขึ้น มีการเสนอว่าบทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความคิด คํานึงของเด็กได้ดีที่สุดคือ พงศาวดาร และภูมิศาสตร์ และแม้แต่หนังสือเรื่อง ยักษ์หรือผีสางเทวดาที่ผู้ใหญ่ เห็นว่าไร้สาระ ก็ช่วยหัดให้เด็กมีความคิดคํานึงได้
8. ความตกลงใจ เกิดจากอาการ 2 อย่าง คือ การเปรียบเทียบและการลงความเห็น มีตัวอย่าง บทเรียนที่ช่วยฝึกหัดความตกลงใจ เช่น การเขียนหนังสือ และวาดรูป บทเรียนสําหรับหัดมือ (พับ ตัด ปั้น) การกระจายประโยคตามตําราไวยากรณ์ เลข การเล่นออกแรง
9. ความวิเคราะห์ มีการแสดงตัวอย่างวิธีสอน 2 แบบ คือ แบบ “คิดค้น” (induction) และแบบ “คิดสอบ” (deduction)มีการเปรียบเทียบให้ดูว่าคิดค้นกับคิคสอบต่างกันอย่างไรและมีประโยชน์แก่การศึกษา ต่างกันอย่างไร ครูจะได้เลือกว่าเมื่อใดควรให้นักเรียนคิดค้น เมื่อใดให้คิดสอบ และมีตัวอย่างวิธีสอนเรื่อง กริยาวิเศษณ์ที่แสดงขั้นตอนการสอนให้ดู 4 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการคิดค้น แล้วต่อด้วยอีก 2 ขั้นตอน ซึ่งเป็นการ คิดสอบ การใช้วิธีสอนรวมกันทั้งคิดค้นและคิดสอบเช่นนี้ ท่านเรียกว่า วิธีสําเร็จ และบอกว่าเป็นวิธีที่ดีกว่าวิธีอื่น ๆ
10. ความเข้าใจ มีการให้ตัวอย่าง คําจํากัดความ ลักษณะแห่งความเข้าใจ และบอกวิธีสอนที่จะ ทําให้เด็กเข้าใจได้ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่ครูทุกคนปรารถนา
วิชาอัธยาตมวิทยาต่อมาเป็นวิชาจิตวิทยาในหลักสูตรผลิตครูในหลายสถาบัน คือ เรียนรู้หลักวิชา จิตวิทยาที่จะเป็นประโยชน์ในการเรียนการสอน (จรัส ชวนะพันธ์ (สารท สุทธเสถียร),ขุน (2548) นนทบุรี : สํานักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช)
ตรวจสอบเเละทบทวน
ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น วิเคราะห์ภาระงาน ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการ ระบุงาน และภาระงาน โดยใช้แนวทางการวิเคราะห์ภาระงานของหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานแล้วระบุเป็น ชิ้นงานหรือภาระงานที่ผู้เรียนปฏิบัติ การออกแบบภาระงานที่ผู้เรียนต้องใช้ความรู้และทักษะ (จากขั้น การ กําหนดจุดหมายการเรียนรู้ (setting learning goals) ลักษณะสําคัญของงานคือ ต้องกระตุ้นหรือสร้างแรงจูงใจ ให้กับผู้เรียน มีความท้าทาย แต่ไม่ยากเกินไปจนผู้เรียนทําไม่ได้ และในขณะเดียวกันต้องครอบคลุม สาระสําคัญทางวิชาและทักษะที่ลึกซึ้ง เพื่อให้สามารถนําผลการประเมินไปใช้ได้อย่างสมเหตุสมผลและ น่าเชื่อถือ
ตัวอย่างแผนการจัดประสบการณ์
สำรวจและอธิบาย
การเกิดดิน |
แผนการจัดประสบการณ์แบบ
บูรณาการ
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 21 เดือน กุมพาพันธ์ พ.ศ. 2562
|
ตัวชี้วัด
สาระที่ ๖
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
มาตรฐาน ว ๖. ๑ เข้าใจกระบวนการต่าง
ๆ สำรวจและอธิบายการเกิดดิน ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก
ความสัมพันธ์ ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ภูมิประเทศ
และสัณฐานของโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ว
6.1 ป.4/1 สำรวจและอธิบายการเกิดดิน
จุดประสงค์การเรียนรู้
1. อธิบายกระบวนการเกิดของดินได้
2. อธิบายส่วนประกอบของดินได้
3. อธิบายลักษณะของชั้นดินได้
4.
บอกลักษณะของดินในท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชได้
ภาระงาน
1. ครูให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ ส่วนประกอบของดินว่าในเนื้อดินมีส่วนประกอบอะไรบ้าง และส่วนประกอบแต่ละอย่างมีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่าอะไร และมีผลทำให้เนื้อดินเป็นอย่างไร
2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.2 ส่วนประกอบของดิน (2)โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
1) ให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน แล้วบันทึกผล
2) ให้นำดินส่วนหนึ่งใส่หลอดทดลอง 1 ใน 4 ของหลอดทดลอง แล้วเผาบริเวณก้นหลอด 3-5 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
3) ใส่ดินในหลอดทดลอง ใส่น้ำลงไปประมาณครึ่งหลอด เขย่าหลอด แล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม จนได้ข้อสรุป ดังนี้
- โดยธรรมชาติ ดินทั่วไปจะมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ชนิด คือ
1) อนินทรีย์วัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุ
2) อินทรียวัตถุ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย
3) น้ำ ได้แก่ น้ำที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน
4) อากาศ ได้แก่ อากาศที่แทรกอยู่ระหว่างช่องของเม็ดดิน
5.ให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้เป็นใบงาน
2. ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน ทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.2 ส่วนประกอบของดิน (2)โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
1) ให้นักเรียนสังเกตสิ่งต่างๆ ที่ปนอยู่ในเนื้อดิน แล้วบันทึกผล
2) ให้นำดินส่วนหนึ่งใส่หลอดทดลอง 1 ใน 4 ของหลอดทดลอง แล้วเผาบริเวณก้นหลอด 3-5 นาที สังเกตการเปลี่ยนแปลง แล้วบันทึกผล
3) ใส่ดินในหลอดทดลอง ใส่น้ำลงไปประมาณครึ่งหลอด เขย่าหลอด แล้วตั้งทิ้งไว้สักครู่ สังเกตการเปลี่ยนแปลงและบันทึกผล
3. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
4. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม จนได้ข้อสรุป ดังนี้
- โดยธรรมชาติ ดินทั่วไปจะมีส่วนประกอบสำคัญ 4 ชนิด คือ
1) อนินทรีย์วัตถุ ได้แก่ แร่ธาตุ
2) อินทรียวัตถุ ได้แก่ ซากพืชซากสัตว์ ที่เน่าเปื่อย
3) น้ำ ได้แก่ น้ำที่แทรกอยู่ระหว่างเม็ดดิน
4) อากาศ ได้แก่ อากาศที่แทรกอยู่ระหว่างช่องของเม็ดดิน
5.ให้นักเรียนสรุปความรู้ที่ได้เป็นใบงาน
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Cooperative Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
มีรูปแบบอย่างหลากหลาย ดังต่อไปนี้
1.คิดและคุยกัน(Think
Pairs Share) , เพื่อนเรียน(Partners) , ผลัดกันพูด(Say
and Switch)
ทั้ง 3 รูปแบบเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่คล้ายคลึงกัน
ให้นักเรียนจับคู่กันในการตอบคำถาม
อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์
หรือทำความเข้าใจเนื้อหาที่เป็นความคิดรวบยอดที่กำหนดให้
2.กิจกรรมโต๊ะกลม(Roundtable
หรือ Roundrobin)
เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกลุ่มนักเรียนที่มีจำนวนมากกว่า
2 คนขึ้นไป เปิดโอกาสให้นักเรียนทุกคน เขียนความคิดเห็นของตน
บอกเล่าประสบการณ์ความรู้
หรือสิ่งที่ตนกำลังศึกษาให้เพื่อนคนที่อยู่ถัดไปโดยเวียนไปทางด้านใดด้านหนึ่ง
สมาชิกทุกคนจะใช้เวลาเท่าๆกันหรือใกล้เคียง
3.คู่ตรวจสอบ(Pairs
Check) , มุมสนทนา(Corners) , ร่วมกันคิด(Numbered
Heads together)
เป็นรูปแบบการสอนที่คล้ายคลึงกัน
คือ เป็นการจัดการเรียนการสอนที่แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ให้ช่วยกันตอบคำถาม
แก้โจทย์ปัญหา หรือทำแบบฝึกหัด เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มย่อยสามารถตอบปัญหา
หรือแก้โจทย์ได้แล้ว ให้แลกเปลี่ยนกันตรวจสอบคำตอบ โดยการจับคู่ตรวจสอบ
หรือจัดมุมสนทนา
4.การสัมภาษณ์แบบสามขั้นตอน(Three
Step Interview)
รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบนี้มี
3 ขั้นตอน
โดยครูกำหนดคำถามหรือประเด็นโจทย์ปัญหาให้นักเรียนตอบ มีหลักการดังนี้
นักเรียนจับคู่กัน
คนที่ 1 เป็นผู้สัมภาษณ์โดยถามคำถามให้คนที่ 2 เป็นผู้ตอบ
นักเรียนสลับบทบาทกัน
จากผู้ถามเป็นผู้ตอบ และจากผู้ตอบเป็นผู้ถาม
นักเรียนในแต่ละกลุ่มย่อย
ผลัดกันเล่า สิ่งที่ตนรู้จากคู่ของตน ให้กลุ่มทราบ
5.การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม(Team
Games Tournament หรือ TGT) , การแบ่งกลุ่มสัมฤทธิ์(Student
Team Achievement Division หรือ STAD)
เป็นรูปแบบการสอนที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนคล้ายคลึงกัน
ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- การนำเสนอบทเรียน(Class Presentation)
- การจัดทีม(Team)
- การแข่งขัน/การทดสอบ(TGTใช้การแข่งขัน
ส่วน STADใช้การทดสอบ)
- การยอมรับความสำเร็จของทีม(Team Recognition)
6.ปริศนาความรู้(Jigsaw)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกันโดยครูผู้สอนแบ่งเนื้อหาของเรื่องที่จะเรียน
ออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกแต่ละกลุ่ม และมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มค้นคว้าคนละหัวข้อย่อย
โดยนักเรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่อง ที่ตนได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
สมาชิกต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา
จากนั้นแต่ละคนจะกลับเข้ากลุ่มเดิมของตน
เพื่ออธิบายหัวข้อที่ตนศึกษาให้เพื่อนร่วมกลุ่มฟัง
7.การสืบสอบเป็นกลุ่ม(Group
Investigation)
เป็นการจัดการเรียนการสอนที่เน้นบรรยากาศการทำงานร่วมกัน
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้
ที่จะดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ
สมาชิกแต่ละคนในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย และเลือกวิธีการแสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตัวเอง
หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคน จะรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มตนเองทราบ
8.การเรียนรู้เป็นกลุ่มเพื่อช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล(Team
Assisted Individualization หรือ TAI)
เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนแบบร่วมมือ
และการเรียนการสอนแบบรายบุคคลเข้าด้วยกัน เน้นการสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
โดยให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม
มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้และปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
9.การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน(Cooperative
Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)
เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ที่มีองค์ประกอบน่าสนใจ ได้แก่ การสร้างกลุ่มอ่าน การจัดกลุ่มย่อย
กิจกรรมการอ่านพื้นฐาน การหาเพื่อนช่วยตรวจสอบ การทดสอบ การสอนอ่าน การสอนเขียน
เป็นต้น
รูปแบบจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
สามารถจัดได้อย่างหลากหลาย แต่ทุกแบบมีลักษณะร่วมกัน คือ
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆประมาณ 2-6 คน
โดยสมาชิกทุกคนช่วยเหลือกัน มีการฝึกฝนการทำงานกลุ่ม กระบวนการกลุ่ม
และการประเมินผลเป็นรายบุคคล
การเรียนรู้เเบบเพื่อนช่วยเพื่อน (Peer Learning)
“เพื่อนช่วยเพื่อน”
หรือ “Peer Assist” เป็นการจัดการความรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
(Learning Before Doing) เพื่อแสวงหาผู้ช่วยที่มีความแตกต่าง
มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้
เพื่อขยายกรอบความคิดให้กว้างและมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น โดยอาศัย “คน” เป็นธงนำ (People Driven) เปิดมุมมองความคิดที่หลากหลายจากการแลกเปลี่ยนระหว่างทีมที่มีทักษะ
ความสามารถ และประสบการณ์ที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่มองอะไรเพียงด้านเดียว
ความเป็นมา
“เพื่อนช่วยเพื่อน”
(Peer Assist) เป็นเครื่องมือที่ได้รับการพัฒนาขึ้นใช้ครั้งแรกที่บริษัท
BP-Amoco ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของประเทศอังกฤษ
โดยการสร้างให้เกิดกลไกการเรียนรู้ประสบการณ์ผู้อื่น
ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์หรือร่วมวิชาชีพ (peers) ก่อนที่จะเริ่มดำเนินกิจกรรมหรือโครงการใดๆ
ทั้งนี้ความหมายของ “เพื่อนช่วยเพื่อน” จะเกี่ยวข้องกับ
- การประชุมหรือการปฏิบัติการร่วมกันโดยมีผู้ที่ได้รับเชิญจากทีมภายนอก
หรือทีมอื่น (ทีมเยือน) เพื่อมาแบ่งปันประสบการณ์ ความรู้ กับทีมเจ้าบ้าน
(ทีมเหย้า) ที่เป็นผู้ร้องขอความช่วยเหลือ- เครื่องมือสำหรับแบ่งปันประสบการณ์
ความเข้าใจ ความรู้ ในเรื่องต่างๆ
- กลไกสำหรับแลกเปลี่ยนความรู้ผ่านการเชื่อมโยงติดต่อระหว่างบุคคลสำหรับข้อดีของการทำ
Peer Assist นั้น ได้แก่
-- เป็นกลไกการเรียนรู้ก่อนลงมือทำกิจกรรม
(Learning Before Doing) ผ่านประสบการณ์ผู้อื่น เพื่อให้รู้ว่าใครรู้อะไร
และไม่ทำผิดพลาดซ้ำในสิ่งที่เคยมีผู้ทำผิดพลาด ตลอดจนเรียนลัดวิธีการทำงานต่าง ๆ
ที่เราอาจไม่เคยรู้มาก่อนจากประสบการณ์ของทีมผู้ช่วยภายนอก
-- ช่วยให้ทีมเจ้าบ้านได้ความช่วยเหลือ
ความคิดเห็น และมุมมองจากทีมผู้ช่วยภายนอก
ซึ่งอาจนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาหรือการทำงานใหม่ๆ
เมื่อจะเริ่ม "ลงมือทำ"
เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เราไม่เคยทำ หรือไม่สันทัด หรือยังได้ผลไม่เป็นที่พอใจ
ขั้นตอนแรกของการจัดการความรู้คือหาข้อมูล (ความรู้) ว่าเรื่องนั้นๆ มีบุคคลหรือกลุ่มคน
ที่ไหน หน่วยงานใด ที่ทำได้ผลดีมาก (best practice) และถือเป็นกัลยาณมิตร
(peers) ที่อาจช่วยแนะนำหรือให้ความรู้เราได้
กัลยาณมิตรนี้อาจเป็นเพื่อนร่วมงานในหน่วยงานเดียวกัน
อาจเป็นหน่วยงานอื่นในองค์กรเดียวกัน หรือเป็นคนที่อยู่ในองค์กรอื่นก็ได้ แล้วติดต่อขอเรียนรู้วิธีทำงานจากเขา
ไปเรียนรู้จากหน่วยงาน จะโดยวิธีไปดูงาน โทรศัพท์หรือ e-mail ไปถาม เชิญมาบรรยาย หรือวิธีอื่นๆ ก็ได้ หลักคิดในเรื่องนี้ก็คือ
มีคนอื่นที่เขาทำได้ดีอยู่แล้ว ในเรื่องที่เราอยากพัฒนาหรือปรับปรุง
ไม่ควรเสียเวลาคิดขึ้นใหม่ด้วยตนเอง ควร "เรียนลัด"
โดยเอาอย่างจากผู้ที่ทำได้ดีอยู่แล้ว เอามาปรับใช้กับงานของเรา
แล้วพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
ย้ำว่าการเรียนรู้จากกัลยาณมิตรนี้จะต้องไม่ใช่ไปลอกวิธีการของเขามาทั้งหมด
แต่ไปเรียนรู้แนวคิดและแนวปฏิบัติของเขาแล้วเอามาปรับปรุงใช้งานให้เหมาะสมต่อสภาพการทำงานของเรา
วิธีการแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน”
วิธีการแบบ “เพื่อนช่วยเพื่อน”
สามารถทำได้ ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจนว่าทำ
“เพื่อนช่วยเพื่อน” ทำไปเพื่ออะไร
อะไรคือต้นตอของปัญหาที่ต้องการขอความช่วยเหลือ
2. ตรวจสอบว่าใครที่เคยแก้ปัญหาที่เราพบมาก่อนบ้างหรือไม่
โดยทำแจ้งแผนการทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” ของทีมให้หน่วยงานอื่นๆ
ได้รับรู้ เพื่อหาผู้ที่รู้ในปัญหาดังกล่าว
3. กำหนด Facilitator
(คุณอำนวย) หรือผู้สนับสนุน
และอำนวยความสะดวกในกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีม เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามต้องการ
4. คำนึงถึงการวางตารางเวลาให้เหมาะสมและทันต่อการนำไปใช้งาน
หรือการปฏิบัติจริง โดยอาจเผื่อเวลาสำหรับปัญหาที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้น
5. ควรเลือกผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้มีความหลากหลาย
(Diverse) ทั้งด้านทักษะ (Skill) ความสามารถ/ความเชี่ยวชาญ
(Competencies) และประสบการณ์ (Experience) สำหรับจำนวนผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนอยู่ที่ประมาณ 6-8
คนก็เพียงพอ
6. มุ่งหาผลลัพธ์หรือสิ่งที่ต้องการได้รับจริงๆ
กล่าวคือ การทำ “เพื่อนช่วยเพื่อน” นั้นจะต้องมองให้ทะลุถึงปัญหา
สร้างทางเลือกหลายๆ ทาง มากกว่าที่จะใช้คำตอบสำเร็จรูปทางใดทางหนึ่ง
7. วางแผนเวลาสำหรับการพบปะสังสรรค์ทางสังคม
หรือการพูดคุยแบบไม่เป็นทางการ (นอกรอบ)
8. กำหนดบทบาทของแต่ละฝ่ายให้ชัดเจน
ตลอดจนสร้างบรรยากาศ เพื่อให้เอื้ออำนวยต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน
9. แบ่งเวลาที่มีอยู่ออกเป็น
4 ส่วน คือ
- ส่วนแรกใช้สำหรับทีมเจ้าบ้านแบ่งปันข้อมูล
(Information) บริบท (Context) รวมทั้งแผนงานในอนาคต
- ส่วนที่สองใช้สนับสนุน
หรือกระตุ้นให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้ซักถามในสิ่งที่เขาจำเป็นต้องรู้
- ส่วนที่สาม
ใช้เพื่อให้ทีมผู้ช่วยซึ่งเป็นทีมเยือนได้นำเสนอมุมมองความคิด
เพื่อให้ทีมเจ้าบ้านนำสิ่งที่ได้ฟังไปวิเคราะห์
- ส่วนที่สี่
ใช้สำหรับการพูดคุยโต้ตอบ พิจารณาไตร่ตรองสิ่งที่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
การเรียนรู้เเบบทีมเป็นฐาน (Team Based Learning)
แนวคิดในการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam
Based Learning
การจัดการเรียนรู้แบบทีม
(Team-Based Learning) หรือการเรียนโดยใช้ทีมเป็นฐานเป็น
รูปแบบการสอนที่ได้รับการคิดค้นและพัฒนา
โดยนักการศึกษาชาวอเมริกา คือ Larry K. Michaelsen จาก University
of Oklahomaต่อมามีผู้สนใจนำไปใช้แพร่หลาย
โดยโรงเรียนแพทย์ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา 77 แห่งใช้วิธีนี้
รวมทั้งโรงเรียนพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพสาขาอื่นๆด้วยเป้าหมายของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam
Based Learningมีดังนี้
1.
สร้างความมั่นใจว่าผู้เรียนได้เรียนรู้ตามหลักของรายวิชา
2.
พัฒนาความสามารถด้านการคิด และการแก้ปัญหา
3.
เตรียมผู้เรียนให้มีความพร้อมในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
4.
ส่งเสริมทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานเป็นทีม
5.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสุขในการเรียนรู้
หลักการสำคัญ 4
ประการ ของการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานTeam Based Learning
1 Group
Formation มีการจัดทีมอย่างเหมาะสม คือ แบ่งทีมย่อย
ตามทักษะและความสามารถ
อย่างหลากหลาย
กลุ่มละ 7-12 คนและควรเป็นทีมถาวร
แนวทางการจัดการเรียนรู้:
ร่วมจัดทีมอย่างเป็นทางการในชั่วโมงแรกของการเรียนการสอน
1.1
ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดคุณลักษณะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้ เช่นทักษะผู้นำ
การ
สืบค้น
การคิดวิเคราะห์การนำเสนอ เป็นต้น
1.2
ครูช่วยดูแลการจัดกลุ่มเพื่อลดปัญหาด้านความขัดแย้ง และการเลือกปฏิบัติ การไม่แยก
ออกจากกลุ่มเพื่อน
ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้การท างานต่างวัฒนธรรม ต่างความคิด ต่างมุมมอง
1.3 จัดคนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดมา
ตามข้อ 1.1 ให้มีการกระจายคุณสมบัติที่จำเป็นของ
ผู้เรียนครบทุกกลุ่ม
1.4
การจัดกลุ่มควรเป็นกลุ่มถาวร เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และมีพัฒนาการตามลำดับปัญหาที่พบ
ในแต่ละกลุ่ม
2
Accountable ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบในเรื่องการเตรียมตัวก่อนเข้าเรียน
การช่วยเหลือกันในการทำงานของทีมโดยต้องร่วมรับผิดชอบทั้งในงานส่วนตัวและงานกลุ่มแนวทางการจัดการเรียนรู้:
มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้า หรือจัดให้มีการศึกษารายเดี่ยวก่อนเข้ากลุ่มเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้
2.1 มอบหมายการศึกษาด้วยตนเองล่วงหน้าด้วยการกำหนดขอบเขตหรือเป้าหมายของ
การศึกษาให้ชัดเจน
2.2 ทำแบบทดสอบรายเดี่ยวก่อนการเรียนรู้เพื่อทดสอบและกระตุ้นการเตรียมความพร้อมของ
ผู้เรียนก่อนการเข้าแลกเปลี่ยนในกลุ่ม
2.3 นำแบบทดสอบเข้าไปปรึกษาในกลุ่ม
อภิปรายเพื่อหาคำตอบที่ดีที่สุดจากกลุ่ม
กระบวนการนี้ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และค้นคว้าร่วมกัน
ก่อนได้คำตอบของกลุ่ม
2.4
สะท้อนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพมากขึ้นจากการเรียนรู้ผ่านกลุ่ม
2.5
ครูสะท้อนความคิด และให้ข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นที่กลุ่มอภิปรายแล้วมีข้อขัดแย้ง
ไม่
ชัดเจนหรือไม่ครอบคลุมและเสริมแรงในกรณีที่มีกระบวนการเรียนรู้เหมาะสม
3 Assignment
Quality การมอบหมายงานจะต้องเน้นทั้งด้านผลการเรียนรู้ตามเป้าหมายรายวิชาที่กำหนดไว้และด้านผลจากการท
างานเป็นทีมแนวทางการจัดการเรียนรู้:มอบหมายใบงานที่มีสถานการณ์ซับซ้อน
ที่เน้นทั้งเป้าหมายวิชาและกระบวนการกลุ่ม
3.1
การมอบหมายงานต้องเน้นการเรียนรู้จากปฏิสัมพันธ์กลุ่ม
3.2
มอบหมายสถานการณ์ที่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้ทีมได้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดและ
วัตถุประสงค์ของรายวิชาที่เรียนรู้
ทั้งนี้ลักษณะของงานที่มอบหมายในการเรียนรู้
ควรประกอบด้วยหลักการ 4 Ss
3.2.1
Significant Problem เป็นปัญหาที่สำคัญของหน่วยการเรียนรู้นั้น
3.2.2 Same
Problem ปัญหาเดียวกันในทุกกลุ่ม
3.2.3
Specific Choice มีทางเลือกหรือแนวทางแก้ปัญหาที่เฉพาะเจาะจง
3.2.4
Simultaneous Reporting รายงานพร้อมกันหรือในช่วงเวลาเดียวกัน
3.3 การนำเสนอผลการเรียนรู้ อาจจะเป็นการนำเสนอปากเปล่าหรือรายงานก็ได้ แต่ต้องไม่
ยุ่งยากซับซ้อน
หรือใช้เวลาในการเรียนการสอนมากเกินไป
3.4
นอกจากการอภิปรายในกลุ่มแล้ว ควรจัดให้มีการอภิปรายระหว่างกลุ่มด้วย
4 Timely
feedback ผู้เรียนจำเป็นต้องได้รับการ feedback อย่างทันเวลาและสม่ำเสมอ
แนวทางการจัดการเรียนรู้:ประเด็นในการ
feedback ควรครอบคลุมประเด็นสำคัญคือ
ครอบคลุมทั้งผลการเรียนรู้และผลของกระบวนการกลุ่ม
4.1
ผลการเรียนรู้ที่เกิดจากการพัฒนาของทีม
4.2 การ feedback
ต้องเกิดขึ้นทันทีหลังจากกระบวนกลุ่มทุกครั้ง
4.3 การ feedback
ต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดกระบวนการเรียนรู้และมีการติดตาม
พัฒนาการในการทำงานเป็นทีมแต่ละประเด็นที่เคยเป็นปัญหาทั้งนี้กระบวนการในการ
ประเมินผลและสะท้อนคิดมีจุดเน้นดังนี้
4.3.1
ให้ผู้เรียนสะท้อนผลการเรียนรู้อย่างครอบคลุมตามเป้าหมายรายวิชา
4.3.2
ให้ผู้เรียนสะท้อนตนเองและกลุ่มเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม
4.3.3
ผู้สอนสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
4.3.4
การประเมินผลการเรียนรู้ควรประเมินครอบคลุมสาระการเรียนรู้ตาม
เป้าหมายรายวิชาและครอบคลุมทักษะสำคัญที่มีผลต่อการเรียนรู้
เช่น การ
คิดวิเคราะห์ การทำงานเป็นทีม
การสื่อสาร และอื่นๆ
การเรียนรู้วิจัยเป็นฐาน (ResearchBased Learning)
การสอนแบบวิจัยเป็นฐานมีแนวทาง
4 แนวทาง ซึ่งผู้สอนสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับเนื้อหาสาระวิชา
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ และศักยภาพของผู้เรียน ดังนี้
แนวที่ 1 ผู้สอนเป็นคนอ่านงานวิจัย
และนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ของตนเองในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง เช่น
นำเนื้อหาที่เป็นผลการวิจัยมาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
หรือมาเล่าให้ผู้เรียนฟังเป็นการเรียน
แนวที่ 2 ให้ผู้เรียนไปศึกษาค้นคว้างานวิจัยด้วยตนเอง ทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะ
การเป็นผู้บริโภคงานวิจัย
ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้สอนที่ต้องเลือกงานวิจัยที่เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของผู้เรียน
หรือผู้สอนอาจต้องทำหน้าที่ในการสรุปย่องานวิจัยให้มีความเหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
แนวที่ 3 ผู้สอนใช้กระบวนการวิจัยในการสอน คือ
ผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยเข้าไปช่วยให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่ต้องการ
ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอนหรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้
วัตถุประสงค์และข้อจำกัดที่มี
แนวที่ 4 ให้ผู้เรียนลงมือทำวิจัยด้วยตนเอง
โดยผู้สอนช่วยให้ผู้เรียนดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยต่างๆ
อย่างมีคุณภาพมากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้
นรู้เพิ่มเติม
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL)
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (RBL)
การจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาในปัจจุบันมุ่งการพัฒนาการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญโดยนำเอาการวิจัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้หรือจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการวิจัย
โดยมีเชื่อว่าการวิจัยเป็นกระบวนการสร้างคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ได้
บทความนี้จะได้เสนอแนวคิดและวิธีการของการจัดการศึกษาแบบ RBL เพื่อจะได้เกิดแนวคิดและแนวทางการในการนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดผลต่อไป
1.บทนำเข้าสู่การจัดการศึกษาแบบ RBL
เอกสารนี้ต้องการเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนแบบ RBL เพื่อให้อาจารย์ของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้ใช้เป็นแนวให้การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตามแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้แห่งนัยของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยขอเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับ(ก)นิยาม(ข)เหตุผล (ค)ลักษณะ (ง)ทฤษฎี (จ)รูปแบบ(ฉ)วิธีการจัด การศึกษาแบบ RBL ตามลำดับ
เอกสารนี้ต้องการเสนอแนวคิดและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการสอนแบบ RBL เพื่อให้อาจารย์ของสถาบันราชภัฏสวนสุนันทาได้ใช้เป็นแนวให้การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ตามแนวทางของการปฏิรูปการเรียนรู้แห่งนัยของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542 โดยขอเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับ(ก)นิยาม(ข)เหตุผล (ค)ลักษณะ (ง)ทฤษฎี (จ)รูปแบบ(ฉ)วิธีการจัด การศึกษาแบบ RBL ตามลำดับ
2.นิยามของการจัดการศึกษาแบบRBL
การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ ‘การวิจัย’เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
การเรียนรู้เป็นการจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์ กระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมหรือประสบการณ์เรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้แก่ผู้เรียนในสถานศึกษาเกี่ยวข้องการทั้งกระบวนการเรียนและการสอน การเรียนนั้นเป็นบทบาทของผู้เรียนส่วนการสอนเป็นบทบาทของผู้สอน การเรียนรู้แบบ RBL เป็นการจัดการเรียนการสอนที่นำ ‘การวิจัย’เข้ามาเป็นเครื่องมือของการจัดการเรียนการสอน
3.เหตุผลของการจัดการศึกษาแบบRBL
รศ.ดร.ไพทูรย์
สินลารัตน์ คณบดีคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ‘การเรียนการสอนที่มีการวิจัยเป็นฐานว่า ’การจัดการเรียนรู้แบบเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ได้
เมื่อก่อนสถาบันอุดมศึกษาผลิตคนแบบ’จำทำ’เพื่อไปทำงานในระบบราชการ
แต่ปัจจุบันการอุดมศึกษาต้องผลิตคนแก้ปัญหาด้วยตัวเองได้สูงไปให้แก่ระบบธุรกิจ
การเรียนการสอนแบบ’พูดบอกเล่า’ ไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการใหม่ของอุดมศึกษาได้อีกต่อไป
ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตอธิการบดีของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้กล่าวว่าในหนังสือชื่อ
‘การศึกษาที่มีการวิจัยเป็นฐาน’ ว่าการวิจัยนั้นเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่สามารถสร้างคุณลักษณะหลายอย่างที่การศึกษาต้องการได้
การวิจัยสามารถปรับเปลี่ยนบุคคลให้ตั้งอยู่บนฐาน ข้อมูลและเหตุผล มีวิจารณญาณ
วิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และเกิดนวัตกรรมได้
ขั้นตอนของการวิจัยไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงความรู้
การประเมินความเชื่อได้ของความรู้ การตีค่า
ความอิสระทางความคิดและเป็นตัวของตัวเองย่อมนำมาใช้เป็นเครื่องมือของการเรียนรู้ได้ทั้งสิ้น
4. ลักษณะสำคัญของการจัดการศึกษาแบบ RBL
ลักษณะของการจัดการศึกษาแบบ RBL มีดังนี้
คือ หลักการที่1.แนวคิดพื้นฐาน
เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’ หลักการที่2.เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’ หลักการที่3.วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’ หลักการที่4.บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ
เปลี่ยนแนวคิดจาก’เรียนรู้โดยการฟัง/ตอบให้ถูก’ เป็น ‘การถาม/หาคำตอบเอง’ หลักการที่2.เป้าหมาย เปลี่ยนเป้าหมายจาก’การเรียนรู้โดยการจำ/ทำ/ใช้’ เป็นการคิด/ค้น/แสวงหา’ หลักการที่3.วิธีสอน เปลี่ยนวิธีสอนจาก’ การเรียนรู้โดยการบรรยาย’ เป็น ‘การให้คำปรึกษา’ หลักการที่4.บทบาทผู้สอน เปลี่ยนบทบาทผู้สอนจาก’ การเป็นผู้ปฏิบัติเอง’ เป็น ‘การจัดการให้ผู้เรียนปฏิบัติ
5. ทฤษฎีเบื้องหลังการจัดการศึกษาแบบ RBL
การวิจัยเป็นกิจกรรมการแสวงหาความรู้ใหม่ การใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ก็เพื่อต้องการผลจากการวิจัย 2 ประการ คือ (1)ให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง
ตามแนวคิดของ(ก)การจัดการศึกษาแบบConstructivism ที่เชื่อว่า
การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล
บุคคลเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองจากการสัมพันธ์สิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจเดิมที่บุคคลมีอยู่เดิม
หรือ(ข)แนวคิดของ Experience Learningที่ว่า Experience
learning takes the student out of the detached role of a vicarious learner and
plunges her into the role of participant observer, performer, or even
teacher หรือ(ค)แนวคิดของการเรียนรู้แบบ Active
Learning ที่ว่า
องค์ความรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้รับจะมีคุณค่าและถาวรมากกว่าถ้าผู้เรียนเปลี่ยนจากการเรียนแบบรับ(passive
learning)มาเป็นแบบรุก(active learning) (2)ให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะที่การศึกษาต้องการประกอบด้วยการเป็นผู้ไฝ่รู้
การเป็นผู้มีวิธีการแสวงหาความรู้ การเป็นผู้มีความสามารถในการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
การเป็นผู้คิดอย่างอิสระไม่ต้องพึ่งพา การเป็นผู้นำตนเองและผู้อื่น
อันเป็นคุณลักษณะที่การศึกษาพึงประสงค์
6. รูปแบบของการจัดการศึกษาแบบ RBL
การจัดการศึกษาแบบ RBL นั้นมีรูปแบบการจัดการศึกษาดังนี้
ก. RBL ที่ใช้ผลการวิจัยเป็นสาระการเรียนการสอน
ประกอบด้วย
(1)เรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน
(2)เรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานการวิจัย
ข.RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย
ข.RBL ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย
(3)เรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย
(4)เรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย
(5)เรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย
(6)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก
(7)เรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
การเรียนรู้แบบเชิงรุก (Activelearning)
-
ผู้เรียนมีบทบาทในการแสวงหาความรู้และเรียนรู้อย่างมีปฏิสัมพันธ์จนเกิดความรู้
ความ
เข้าใจ
นำไปประยุกต์ใช้ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเมินค่า หรือ สร้างสรรค์สิ่งต่างๆ
และพัฒนาตนเองเต็มความสามารถ
รวมถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้ได้ร่วมอภิปราย ให้ฝึกทักษะการสื่อสาร
ทำให้ผลการเรียนรู้เพิ่มขึ้นเป็น ๗๐%
-
การนำเสนอผลงานทางการเรียนรู้ในสถานการณ์จำลอง ทั้งมีการฝึกปฏิบัติในสภาพจริง มี
การเชื่อมโยงกับสถานการณ์ต่างๆ
จะทำให้ผลการเรียนรู้เกิดขึ้นถึง ๙๐%
- ความรู้เกิดจากประสบการณ์ การสร้างองค์ความรู้
และการสรุปทบทวนของผู้เรียน
-
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพทางสมอง ได้แก่ การคิด การแก้ปัญหา
การนําความรู้ ไปประยุกต์ใช้
-
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้
- เป็นกระบวนการสร้างสถานการณ์ให้ผู้เรียนอ่าน
พูด ฟัง คิด
-
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดขั้นสูง
-
เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนบูรณาการข้อมูล
ข่าวสาร สารสนเทศ และหลักการ สู่การสร้างความคิดรวบยอด
-
ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้
มีการสร้างองค์ความรู้ การสร้างปฎิสัมพันธ์ร่วมกัน และร่วมมือกันมากกว่าการแข่งขัน
- ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้และจัดระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง
-
ผู้เรียนได้เรียนรู้ความรับผิดชอบร่วมกัน
การมีวินัยในการทํางาน และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
-
ผู้สอนเป็นผู้อํานวยความสะดวกในการจัดการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเอง
หลักการจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
๑. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้ความเชื่อพื้นฐาน 2
ประการคือ
๑)
การเรียนรู้เป็นความพยายามโดยธรรมชาติของมนุษย์
๒)
แต่ละบุคคลมีแนวทางในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน โดยผู้เรียนจะถูกเปลี่ยนบทบาทจาก
ผู้รับความรู้ไปสู่การมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้
๒. ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
และระหว่างผู้เรียน
ด้วยกัน
โดยใช้เทคนิคหรือกิจกรรมต่างๆ
๓.
เน้นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวนการคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้
กระทำลงไป
๔. ผู้สอนมีบทบาทอำนวยความสะดวกและจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้ผู้เรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองจนเกิดเป็นการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
(Meaningful Learning)
บทบาทของครูผู้สอน
๑.
ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นหลักในการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมต้องสะท้อนความต้องการในการ
พัฒนาผู้เรียนและเน้นการนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงของผู้เรียน
๒.
วางแผนเกี่ยวกับเวลาในจัดการเรียนการสอนอย่างชัดเจน ทั้งในส่วนของเนื้อหา
และกิจกรรม
๓. สร้างบรรยากาศของการมีส่วนร่วม การอภิปราย
และการเจรจาโต้ตอบ ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมี
ปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สอนและเพื่อนในชั้นเรียน
๔.
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้เกิดความเลื่อนไหล มีชีวิตชีวา ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรมรวมทั้งกระตุ้นให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
๕. จัดสภาพการเรียนรู้แบบร่วมแรงร่วมใจ ส่งเสริมให้เกิดการร่วมมือในกลุ่มผู้เรียน
๖. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ท้าทาย
และให้โอกาสผู้เรียนได้ปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้ ที่หลากหลาย
๗. ครูผู้สอนต้องใจกว้าง
ยอมรับความสามารถในการแสดงออก และความคิดเห็นเของผู้เรียน
รูปแบบวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน
(Active Learning) ครอบคลุมวิธี การจัดการเรียนรู้หลากหลายวิธี
เช่น
-
การเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based
Learning)
-
การเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential
Learning)
-
การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based
Learning)
-
การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based
Learning)
-
การเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด
(Thinking Based Learning)
-
การเรียนรู้การบริการ
(Service Learning)
-
การเรียนรู้จากการสืบค้น (Inquiry-Based
Learning)
-
การเรียนรู้ด้วยการค้นพบ (Discovery
Learning)
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบ
วิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เหล่านี้ มีพื้นฐานมาจากแนวคิดเดียวกัน
คือให้ผู้เรียนเป็นผู้มีบทบาทหลักในการเรียนรู้ของตนเอง
ข้อพึงระมัดระวัง
๑. เนื่องจากการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning มีรากฐานมาจากแนวคิดทางการศึกษาที่เน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ (Constructivist) โดยผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้จากข้อมูลที่ได้รับมาใหม่ด้วยการนำไปประกอบกับประสบการณ์ส่วนตัวที่ผ่านมาในอดีต นอกจากนี้ยังมีมิติของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอยู่
2 มิติ ได้แก่ กิจกรรมด้านการรู้คิด (Cognitive
Activity) และกิจกรรมด้านพฤติกรรม (Behavioral
Activity) ผู้นำไปใช้อาจเข้าใจคลาดเคลื่อน
ว่าการเรียนรู้แบบนี้ คือรูปแบบที่เน้นความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรม (Behavioral
Active) โดยเข้าใจว่าความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรมจะทำให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิด
(Cognitively Active) ไปเอง
จึงเป็นที่มาของการประยุกต์ใช้ผิดๆว่าให้ผู้สอนลดบทบาทความเป็นผู้ให้ความรู้ลง
เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวกและบริหารจัดการหลักสูตร
โดยปล่อยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เองอย่างอิสระจากการทำกิจกรรมและการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เรียนด้วยกันเอง
ตามยถากรรม โดยผู้เรียนไม่ได้เรียนรู้ พัฒนามิติด้านการรู้คิด
๒. ความตื่นตัวในกิจกรรมด้านพฤติกรรมอาจไม่ก่อให้เกิดความตื่นตัวในกิจกรรมด้านการรู้คิดเสมอไป การที่ผู้สอนให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น
การฝึกปฏิบัติและการอภิปรายในกลุ่มของผู้เรียนเอง
โดยไม่ให้ความสำคัญกับกิจกรรมด้านการรู้คิด เช่น การลำดับความคิดและการจัดองค์ความรู้
จะทำให้ประสิทธิผลของการเรียนรู้ลดลง
๓. กรณีการนำรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบที่ให้ผู้เรียนทำกิจกรรมและค้นพบความรู้ด้วยตนเองนี้ ไปใช้กับการพัฒนาการเรียนรู้ตามลำดับขั้นการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัย
(Cognitive Domain) จะเหมาะกับการพัฒนาในขั้น การทำความเข้าใจ
การนำไปประยุกต์ใช้ และการวิเคราะห์ ขึ้นไปมากกว่าขั้นให้ข้อมูลความรู้ เพราะเป็นการเสียเวลามาก
และไม่บรรลุผลเท่าที่ควร
โดยสรุป
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน โดยการนำเอาวิธีการสอน
เทคนิคการสอนที่หลากหลายมาใช้ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้และกิจกรรม
กระตุ้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน
เป็นการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้ทักษะและเชื่อมโยงองค์ความรู้นำไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาหรือประกอบอาชีพในอนาคต
และถือเป็นการจัดการเรียนรู้ประเภทหนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน
ในที่นี้
จึงเสนอรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทีเน้นบทบาทและการมีส่วนร่วมของผู้เรียนที่เหมาะสมในการนำไปใช้ในการจัดกิจกรรม
“ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” ดังต่อไปนี้
1.1 การใช้ผลการวิจัยประกอบการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนำงานวิจัยของตนเอง
หรือผู้อื่นในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้เรียนกำลังทำการเรียนรู้มาเล่าให้ผู้เรียนฟัง
หรือให้ผู้เรียนไปศึกษางานวิจัยของผู้สอนหรือผู้อื่นในศาตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ผู้เรียนกำลังทำการเรียนรู้
1.2 การใช้กระบวนการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การที่ผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการวิจัยที่เริ่มจาก
การระบุปัญหา การคาดคะเนคำตอบหรือการตั้งสมมติฐานการเก็บรวบรวมข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุปและนำเสนอ
ผลการศึกษาตามลำดับ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอน หรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และข้อจำกัดที่มี
ผลการศึกษาตามลำดับ เพื่อทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในเนื้อหาสาระที่เรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนสามารถใช้กระบวนการวิจัยครบทุกขั้นตอน หรือใช้บางขั้นตอนตามความเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหาสาระการเรียนรู้ และข้อจำกัดที่มี
การเรียนรู้เเบบภาระงานเป็นฐาน (Task Based Learning)
1. ความหมายของภาระงาน
นักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ดังนี้
วิลลิซ และ วิลลิซ (Willis and Willis. 1996 : 53 - 54) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงานคือกิจกรรมที่มีเป้าหมายมุ่งเน้นให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อบรรลุผลที่แท้จริง หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่าผู้เรียนจะใช้ทรัพยากรของภาษาเป้าหมายอะไรก็ตามที่พวกเขามีอยู่เพื่อที่จะใช้แก้ปัญหา ไขปริศนา เล่นเกม หรือแบ่งปันและเปรียบเทียบประสบการณ์ ภาระงานมีจุดเริ่มต้นที่หลากหลาย โดยอาจจะมาจากข้อมูลที่ผู้เรียนมี อย่างเช่น ประสบการณ์ส่วนตัว ความรู้ทั่วไป ภาระงานอาจจะมาจากงานเขียน บันทึกข้อมูลเสียง หรือบันทึกข้อมูลภาพ และอาจจะเป็นกิจกรรมอย่างเช่น เกมต่างๆ การสาธิต หรือการสัมภาษณ์
แบรนเดน (Branden. 2006 : 4) ได้กล่าวถึงความหมายของภาระงานไว้ว่า ภาระงาน คือกิจกรรมที่มีคนมีส่วนร่วมเพื่อที่จะบรรลุเป้าหมายซึ่งต้องมีการใช้ภาษา การใช้ภาษาในที่นี้คือการบรรลุเป้าหมายโดยการเข้าใจภาษาที่ป้อนและการสร้างผลผลิตทางภาษา ตัวอย่างเช่น การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสถานการณ์จริงผ่านการใช้ภาษา ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้มากขึ้น
2. ความสำคัญของภาระงาน
ไบเกต (Bygate. 2001 : 23) กล่าวถึงความสำคัญของภาระงานไว้ว่า การใช้ภาระงานเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาทักษะภาษาเป้าหมายของผู้เรียน ในประเภทของภาระงานที่แตกต่างกันออกไปช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนและพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเป้าหมายสื่อสารได้อย่างมีความหมาย
3. ประเภทของภาระงาน
พราบู (Prabhu. 1987 : 46 – 47) แบ่งประเภทของกิจกรรมที่เป็นภาระงานออกเป็น 3 ประเภท ซึ่งประเภทของภาระงานนี้อยู่ในช่วงเริ่มแรกของการนำภาระงานมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ ดังนี้
1. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนข้อมูล (information - gap task) เป็นกิจกรรมที่ก่อให้ผู้เรียนเกิดการส่งผ่านข้อมูลจากคนหนึ่งไปถึงอีกคน ในการทำกิจกรรมผู้เรียนจะต้องได้ใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลของตนกับสมาชิกในกลุ่มหรือภายในห้องเรียน เช่น การกำหนดตารางที่มีรายละเอียดยังไม่สมบูรณ์ และ มีข้อมูลที่สัมพันธ์กันกับตารางนั้นๆแจกให้ผู้เรียนเป็นข้อความที่แตกต่างกัน ซึ่งในการทำกิจกรรมนี้ผู้เรียนจะต้องได้การใช้ภาษาสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อความที่ตนมีกับผู้อื่น โดยที่ผู้เรียนจะต้องหาข้อความของสมาชิกคนอื่นที่มีความสัมพันธ์กับข้อความที่ตนได้รับเพื่อนำไปเติมลงในตารางให้สมบูรณ์
2. กิจกรรมการนำเสนอข้อมูลใหม่ (reasoning - gap task) เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้เรียนได้นำเสนอข้อมูลใหม่จากข้อมูลที่ได้รับโดยผ่านการคิดจากการวิเคราะห์ การอนุมาน การวินิจฉัย การให้เหตุผล หรือตามความคิดเห็นส่วนตัว เช่น ผู้สอนให้ผู้เรียนจัดตารางเรียนใหม่ โดยทำการระบุเวลาและรายวิชา และให้เหตุผลในการจัดตารางได้อย่างเหมาะสม
3. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น (opinion-gap task) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนจะต้องได้แสดงความรู้สึก ความคิดเห็นหรือทัศนคติต่อเรื่องราวหรือสถานการณ์ที่ผู้สอนกำหนดให้ เช่น การร่วมกันอภิปรายในหัวข้อเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในสังคม และร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์นั้น
การเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning)
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหาที่เกิดขึ้นโดยสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันปละมีความสำคัญต่อผู้เรียน ตัวปัญหาจะเป็นจุดตั้งต้นของกระบวนการเรียนรู้และเป็นตัวกระตุ้นกระบวนการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาด้วยเหตุผลและการสืบค้น หาข้อมูลเพื่อเข้าใจกลไกของตัวปัญหา รวมทั้งวิธีการแก้ปัญหา การเรียนรู้แบบนี้มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาผู้เรียนให้สามารรถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง ซึ่งผู้เรียนจะได้ฝึกฝนการสร้างองค์ความรู้โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหาอย่างมีความหมายต่อผู้เรียน
การสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางเนื่องด้วยเป็นกรอบแนวคิดที่เน้นผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียน (Student Outcomes) ทั้งในด้านความรู้สาระวิชาหลัก (Core Subjects) และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ที่จะช่วยผู้เรียนได้เตรียมความพร้อมในหลากหลายด้านนั้น ครูจะเป็นผู้สอนฝ่ายเดียวไม่ได้ แต่ต้องให้นักเรียนเป็นผู้เรียนรู้ด้วตนเอง โดยครูจะออกแบบการเรียนรู้ ฝึกฝนให้ตนเองเป็นโค้ช (Coach) และอำนวยความสะดวก (Facilitator) ในการเรียนรู้แบบ PBL (Problem-Based Learning) ของนักเรียน ซึ่งสิ่งที่เป็นตัวช่วยของครูในการจัดการเรียนรู้คือ ชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ (Professional Learning Communities : PLC) เกิดจากการรวมตัวกันของครูเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่ของครูแต่ละคนนั่นเอง
ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน มีขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา เป็นขั้นที่ผู้สอนจัดสถานการณ์ต่างๆ กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและมองเห็นปัญหา สามารถกำหนดสิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้เรียนอยากรู้อยากเรียนได้และเกิดความสนใจที่ค้นคำตอบ
ขั้นที่ 2 ทำความเข้าใจกับปัญหา ผู้เรียนทำความเข้าใจปัญหาที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนจะต้องอธิบายสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาได้
ขั้นที่ 3 ดำเนินการศึกษาค้นคว้า ผู้เรียนกำหนดสิ่งที่ต้องเรียนดำเนินการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองด้วยวิธีการหลากหลาย
ขั้นที่ 4 สังเคราะห์ความรู้ สรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตนเองและประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินค่าของคำตอบ ผู้เรียนแต่ละกลุ่มสรุปผลงานของกลุ่มตนเอง และประเมินผลงานว่าข้อมูลที่ศึกษาค้นคว้ามีความเหมาะสมหรือไม่เพียงใด โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุ่มของตนเองอย่างอิสระ ทุกกลุ่มช่วยกันสรุปองค์ความรู้ในภาพรวมของปัญหาอีกครั้ง
ขั้นที่ 6 นำเสนอและประเมินผลงาน ผู้เรียนนำข้อมูลที่ได้มาจัดระบบองค์ความรู้และนำเสนอเป็นผลงานในรูปแบบที่หลากหลาย ผู้เรียนทุกกลุ่มรวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาร่วมกันประเมินผลงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)