
วัยทารก เริ่มตั้งแต่เกิดจนถึงอายุ 2 ปี
พัฒนาการ วัยทารกเป็นวัยที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับการวางรากฐานของชีวิต
วัยนี้เริ่มตั้งแต่คลอดออกจากครรภ์มารดาจนถึงประมาณ 2 ปีแรกของชีวิต หลังจากที่คลอดออกมาจากครรภ์มารดาแล้ว
ทารกจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่เพื่อจะได้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปให้ได้ นอกจากการปรับตัวกับสภาพแวดล้อมใหม่แล้ว
สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งในวัยทารก คือ บุคคลรอบข้างของเด็ก ได้แก่
มารดาหรือผู้เลี้ยงดู ซึ่งดูแลให้อาหาร ให้ความรักความอบอุ่น สัมผัสอุ้มชูด้วยความรัก และทำความสะอาดร่างกายให้
ทารกจะได้เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นเป็นครั้งแรกในวัยนี้
ซึ่งทักษะการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนี้จะเป็นทักษะที่สำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับบุคคลอื่นในสังคมต่อไปในอนาคต
พัฒนาการด้านร่างกาย วัยทารกจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้างของร่างกายและการรู้จักใช้อวัยวะต่างๆ
อย่างรวดเร็ว ทางการเคลื่อนไหว การใช้กล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส
ทารกที่อยู่ในช่วงนี้จึง
ไม่ค่อยจะอยู่นิ่งชอบสำรวจสิ่งแวดล้อม
พัฒนาการทางสติปัญญา
สิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาสติปัญญาในวัยนี้ ได้แก่
โอกาสที่เด็กจะได้เล่นเพราะการเล่นเป็นการส่งเสริมความเข้าใจสิ่งแวดล้อม
ความสามารถที่จะเข้าใจภาษาและใช้ภาษาที่ทำให้ผู้อื่นเข้าใจ
พัฒนาการของกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส เพราะระยะนี้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆ
โดยอาศัยกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัสเป็นสื่อเป็นส่วนใหญ่ การที่เด็กได้มีโอกาสจับ
เห็น ได้ยิน สิ่งเหล่านี้จะช่วยพัฒนาสติปัญญาอย่างมาก
พัฒนาการทางอารมณ์
อารมณ์ของเด็กในวัยนี้จะเปลี่ยนแปลงง่ายรวดเร็วขึ้นอยู่กับสิ่งเร้า
อารมณ์โกรธมีมากกว่าอารมณ์อื่นๆ
เพราะเป็นระยะที่เด็กพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง พยายามฝึกฝนตนเองเพื่อให้สามารถช่วยตนเอง
อารมณ์กลัวเกิดมากเป็นอันดับสองรองจากอารมณ์โกรธอารมณ์อยากรู้อยากเห็นเป็นอีกอารมณ์หนึ่งที่มีค่อนข้างมากเกิดจากความต้องการรู้จักสิ่งแวดล้อม อารมณ์ประเภทนี้มีประโยชน์ต่อการพัฒนาสติปัญญา
ถ้าบิดามารดาส่งเสริมให้ถูกวิธีจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาทางด้านสติปัญญาได้
พัฒนาการทางสังคม หมายถึง
พฤติกรรมที่เด็กสร้างความสัมพันธ์กับบุคคลต่างๆ ตั้งแต่ บิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู
ขยายออกไปยังสมาชิกคนอื่นๆ ในครอบครัว บุคคลอื่นๆ ในชุมชน
ในโรงเรียนและในสังคมที่ตนเองเป็นสมาชิก
พฤติกรรมทางสังคมของแต่ละบุคคลจะแสดงออกมาอย่างไร ขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่างๆ
หลายประการ ที่บุคคลเรียนรู้และได้รับในวัยทารก
เช่น
ความรู้สึกที่เกิดขึ้นขณะที่เด็กได้รับอาหารการได้รับอาหารเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับเด็กในวัยนี้
ฟรอยด์เชื่อว่าความสุขของคนในระยะนี้อยู่ที่การได้กินอาหาร ดังนั้นถ้าเด็กไม่มีความสุขอย่างเพียงพอเกี่ยวกับการกินอาหารจะส่งผลกระทบไปถึงการพัฒนาการทางสังคมและพัฒนาการทางอารมณ์ด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่างๆ ภายในบ้าน
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในบ้านทั้งในแง่ดีและไม่ดีจะเป็นรอยประทับไว้ในจิตใจของเด็ก
โดยที่เด็กไม่รู้สึกตัว เด็กจะเรียนรู้และเลียนแบบความสัมพันธ์เหล่านี้ไปปฏิบัติในชีวิตอนาคต
การฝึกหัดให้เด็กรู้สึกเคารพระเบียบกฎเกณฑ์ต่างๆ
เป็นรากฐานที่สำคัญของพฤติกรรมทางสังคมในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น
พัฒนาการทางภาษา
ทารกแรกเกิดใช้การร้องไห้การทำเสียงที่ยังไม่เป็นภาษาเป็นเครื่องสื่อความหมาย การฝึกในการพูดภาษาของเด็กอาศัยการเรียนรู้และการเลียนแบบ
วัยเด็ก เริ่มตั้งแต่อายุ 2 – 12 ปี
แบ่งออกเป็น 2 ช่วงอายุ ได้แก่
1.
วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัยเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 ขวบ จนถึง 6
ขวบ
พัฒนาการทางร่างกาย
ในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการค่อนข้างช้าเมื่อเทียบกับระยะวัยทารกสัดส่วนของร่างกายจะค่อยๆ
เปลี่ยนไป
ฉะนั้นจึงเป็นระยะที่เหมาะที่สุดที่จะฝึกได้เล่นกีฬาประเภทเคลื่อนไหวต่างๆ
ที่เหมาะกับกำลังของเด็ก ซึ่งจะช่วยการเรียนรู้และพัฒนาพฤติกรรมด้านอารมณ์ สังคม
และสติปัญญา
ฒนาการทางอารมณ์
เด็กในวัยนี้จะมีอารมณ์หงุดหงิดง่ายกว่าเด็กในวัยทารก
ดื้อรั้นเอาแต่ใจ
เจ้าอารมณ์ในระยะนี้เด็กโกรธง่ายเนื่องจากอยากเป็นตัวของตัวเอง
ความสำเร็จในการเป็นตัวของตัวเองได้สมใจ
พัฒนาการทางภาษา
ในระยะนี้เด็กใช้ภาษาพูดได้แล้วแต่ยังไม่ถูกต้องสมบูรณ์ดีเท่าผู้ใหญ่
เด็กจะพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาจนใช้งานได้ดีในช่วงระยะวัยเด็กตอนต้น
เมื่อสิ้นสุดระยะนี้ไม่ว่าเด็กชาติไหนสามารถพูดภาษาแม่ของตนได้ดีเท่าผู้ใหญ่ วัย 6
ขวบเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการ ภาษาพูด (Speech) นอกจากภาษาพูดแล้วเด็กบางคนเริ่มพัฒนาภาษาเขียนและเริ่มอ่านหนังสือ
พัฒนาการทางสังคม
เด็กจะเริ่มรู้จักเข้าหาผู้อื่น เริ่มแสวงหาเพื่อนร่วมวัยเดียวกัน
เด็กหญิงและเด็กชายเริ่มมองเห็นความแตกต่างระหว่างเพศ (Sex Difference) เริ่มตระหนักว่าตนเป็นเพศหญิงหรือชาย และควรจะประพฤติตนอย่างไรจึงจะสมกับเป็นผู้หญิง
หรือสมกับเป็นผู้ชาย (Sexual Typing)
การเรียนรู้เหล่านี้
นอกจากเด็กจะเรียนด้วยอาศัยการสังเกตและการเลียนแบบแล้วยังถูกอบรมแนะนำจากผู้ใหญ่ด้วย
พัฒนาการทางศีลธรรมจรรยาและค่านิยม ความนึกคิดเกี่ยวกับอะไรถูกผิด
เด็กยังคิดเห็นเป็นเหตุผลด้วยตนเองไม่ได้
ยังต้องอาศัยผู้อบรมเลี้ยงดูให้คำแนะนำแต่ที่สำคัญยิ่งกว่าคำแนะนำก็คือการทำเป็นแบบอย่างเพื่อให้เด็กเลียนแบบ
2. วัยเด็กตอนต้นหรือระยะวัยเด็กก่อนเข้าโรงเรียน เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 6
ขวบ จนถึง 12 ขวบ
พัฒนาการทางร่างกาย เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป
ในระหว่างนี้เป็นระยะที่เด็กหญิงโตเร็วกว่าเด็กชายวัยเดียวกันในด้านความสูงและน้ำหนัก ลักษณะเช่นนี้ยังคงดำรงต่อไปจนกระทั่งย่างเข้าสู่ระยะวัยรุ่นตอนปลาย
เด็กชายจะโตทันเด็กหญิงและล้ำหน้าเด็กหญิง
เด็กในวัยนี้ไม่ชอบอยู่นิ่งชอบเล่นและทำกิจกรรมต่างๆ
พัฒนาการทางสังคม มีลักษณะพัฒนาการทางสังคมที่เด่นชัด คือ
เด็กเริ่มออกจากบ้านไปสู่หน่วยสังคมอื่น จุดศูนย์กลางสังคมของเด็กคือโรงเรียน
เด็กจะเรียนรู้บทบาทใหม่คือการเป็นสมาชิกของกลุ่มเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกัน
เด็กจะได้รับการเรียนรู้ระเบียบกฎเกณฑ์ ความประพฤติที่ต้องปฏิบัติในสังคม
พัฒนาการทางอารมณ์
เด็กรู้จักกลัวสิ่งที่สมเหตุสมผลมากกว่าวัยก่อน
เพราะความสามารถในการใช้เหตุผลของเด็กพัฒนาขึ้น มีความรู้สึกสงสารและเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกของบุคคลอื่นมากขึ้น
พัฒนาการทางสติปัญญา เด็กวัยนี้สามารถคิด วิเคราะห์
และแก้ปัญหาได้ชัดเจนมากขึ้น รู้จักให้เหตุผลในการแก้ปัญหา
รับผิดชอบและตัดสินใจได้ด้วยตนเองรับฟังคนอื่นมากขึ้น
กระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้ ชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ
เด็กวัยนี้จะสนใจในเรื่องของธรรมชาติ การท่องเที่ยวสถานที่ต่างๆ
โดยทั่วไปเด็กผู้ชายจะสนใจเรื่องการพิสูจน์ ทดลอง
ส่วนเด็กผู้หญิงจะสนใจเรื่องการทำอาหาร เย็บปักถักร้อย การอ่านหนังสือต่างๆ
พัฒนาการทางภาษา
เด็กจะเรียนรู้คำศัพท์เพิ่มมากขึ้น
ใช้ภาษาพูดแสดงความคิดความรู้สึกได้อย่างดี
ความรู้สึกทางด้านจริยธรรมเริ่มพัฒนาการในระยะนี้
มีความรับผิดชอบมากขึ้นเริ่มสนใจสิ่งถูกสิ่งผิด
วัยย่างเข้าสู่วัยรุ่น ปกติหญิงเฉลี่ยมีอายุ 12
ปี ชายเฉลี่ยมีอายุ 14 ปี
พัฒนาการทางร่างกาย เจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์(Maturation) เพื่อทำหน้าที่อย่างเต็มที่โครงสร้างกระดูกแข็งแรงขึ้น
การผลิตเซลล์สืบพันธุ์ในเด็กชาย
การมีประจำเดือนของเด็กหญิงสุขภาพโดยทั่วไปของเด็กในวัยนี้ดีกว่าวัยที่ผ่านมา
พัฒนาการทางสังคม เด็กให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมวัยมากกว่าในระยะเด็กตอนปลาย
และผูกพันกับเพื่อนในกลุ่มมากขึ้น
กลุ่มของเด็กไม่มีเฉพาะเพื่อนเพศเดียวกันเท่านั้นแต่เริ่มมีเพื่อนต่างเพศ
ระยะนี้จึงเริ่มต้นชีวิตกลุ่มที่แท้จริง (Gang Age) ส่วนสัมพันธภาพระหว่างเด็กชายเด็กหญิงเปลี่ยนไปจากวัยเด็กต้อนปลาย
เด็กชายและเด็กหญิงเริ่มสนใจซึ่งกันและกันและมีความพอใจในการพบปะสังสรรค์กัน
ร่วมเล่น เรียน ทำงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
พัฒนาการทางอารมณ์ เด็กมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย สับสน อ่อนไหว
เด็กแต่ละคนเริ่มแสดงบุคลิกอารมณ์ประจำตัวออกมาให้ผู้อื่นทราบได้บ้างแล้ว เช่น
อามรณ์ร้อน อารมณ์ขี้วิตกกังวล อารมณ์อ่อนไหวง่าย
เจ้าอารมณ์ ขี้อิจฉาฯลฯ
เด็กสามารถรับรู้ลักษณะเด่นด้อยเกี่ยวกับตนเอง พัฒนาการทางความคิด
พัฒนาการทางความคิดของเด็กอายุประมาณ 11 ขวบขึ้นไป มีชื่อเรียกรวมว่า
รู้คิดถูกระบบ (Formal operation) เด็กพยายามคิดให้เหมือนผู้ใหญ่แต่ว่าด้อยกว่าผู้ใหญ่ในเชิงประสบการณ์และความชำนิชำนาญในการรู้คิด
รู้จักคิดเป็นเหตุเป็นผลไม่เชื่ออะไรง่ายๆ
ต้องการคิดนึกด้วยตัวเอง ระยะนี้เด็กจึงรู้สึกชิงชังคำสั่งบังคับ
คำสั่งให้เชื่อและต้องคล้อยตาม รู้จักคิดด้วยภาพความคิดในใจ (Mental
images) ทำให้สามารถคิดเรื่องนามธรรมยากๆ ได้
วัยรุ่น ตั้งแต่อายุ 14 – 21
ปี
ลักษณะอารมณ์
ลักษณะของอารมณ์สืบเนื่องมาจากอารมณ์ของเด็กวัยแรกรุ่น จึงคล้ายคลึงกันมาก
พฤติกรรมสังคม
สังคมวัยรุ่นเป็นกลุ่มของเพื่อนร่วมวัย ประกอบด้วยเพื่อนทั้ง 2 เพศ
เด็กรู้สึกปลอดโปร่ง สบายใจ ในการทำกิจกรรมต่างๆ
กับเพื่อนร่วมวัยมากกว่ากับเพื่อนต่างวัย
สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมวัยถึงความเข้มข้นสูงสุดประมาณระยะตอนกลางของวัยรุ่น
การคบเพื่อนร่วมวัยเป็นพฤติกรรมสังคมที่มีความสำคัญต่อจิตใจของวัยรุ่น แต่การคบเพื่อนก็ย่อมมีทั้งคุณและโทษ
กลุ่มมีอิทธิพลต่อวัยรุ่นถ้า
คบเพื่อนไม่ดีก็อาจนำไปสู่พฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้
การเลือกอาชีพ เด็กโตพอที่จะรู้ถึงความสำคัญของอาชีพ เช่น
อาชีพนำมาซึ่งสถานทางเศรษฐกิจสังคม
เป็นตัวบ่งชี้ถึงการเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่แต่เด็กยังสับสนวุ่นวายใจเนื่องจากยังไม่รู้จักตัวเองดีพอในด้านบุคลิกภาพ
ความถนัด ความสนใจ
ความสนใจ ความสนใจมีขอบข่ายกว้างขวาง
สนใจหลายอย่างแต่ไม่ลึกซึ้งมาก เพราะเด็กยังไม่เข้าใจเรื่องตัวเอง
ยังเป็นระยะลองผิดลองถูก ความสนใจของเด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ได้แก่
การนับถือวีรบุรุษ (Heroic Worship) ความต้องการเลียนแบบผู้ที่ตนนิยมชมชอบมีมาก่อนแล้วตั้งแต่วัยเด็กก่อนวัยรุ่น
แต่ความต้องการประเภทนี้แรงขึ้นในระยะวัยรุ่นเพราะ ความต้องการรู้จักตนเอง
การยกบุคคลมาเป็นแบบให้นับถือและเลียนแบบช่วยลดความไม่รู้จักหรือความไม่เข้าใจตนเอง
แสวงหาแบบอย่างเพื่อดำเนินรอยตามแนวทางที่ถูกที่ควรเพื่อดำเนินชีวิตอย่างผู้ใหญ่
วัยผู้ใหญ่ ตั้งแต่อายุ 21 – 40 ปี
วัยผู้ใหญ่ตอนต้นเป็นระยะที่ความเจริญเติบโตทางการพัฒนาเต็มที่สมบูรณ์ อวัยวะทุกส่วนทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั่วไปบุคคลมักมีกายแข็งแรง
ในด้านอารมณ์นั้นผู้ที่จะเข้าถึงภาวะอารมณ์แบบผู้ใหญ่มีความคับข้องใจน้อย
ควบคุมอามรณ์ได้ดีขึ้นมีความแน่ใจและมีความมั่นคงทางจิตใจดีกว่าในระยะวัยรุ่น ส่วนด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่นหรือลักษณะพัฒนาการทางสังคมนั้น ระยะนี้การให้ความสัมพันธ์กับกลุ่ม (Peer
Group) เริ่มลดน้อยลง
เปลี่ยนมาสู่การมีสัมพันธภาพและผูกพันกับเพื่อนต่างเพศแบบคู่ชีวิตจุดศูนย์กลางของสัมพันธภาพคือครอบครัว
ส่วนผู้ใหญ่ที่ยังไม่มีคู่ครองและครอบครัว ยังคงให้ความสำคัญ ต่อกลุ่มเพื่อนร่วมวัยแต่ความเข้มของความผูกพันและภักดีเริ่มลดน้อยลงจำนวนสมาชิกของกลุ่มมักจะน้อยลง
วัยกลางคน ตั้งแต่อายุ 40 – 60 ปี
สมรรถภาพทางกายเป็นไปในทางเสื่อมถอยการเปลี่ยนแปลงทางกายเช่นนี้
มีผลสัมพันธ์กับอารมณ์จิตใจและสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น
ทั้งหญิงและชายวัยกลางคนต้องปรับตัวต่อสภาพเหล่านี้การปรับตัวที่สำคัญ เช่น การปรับตัวทางอาชีพ
การปรับตัวในบทบาทของสามีภรรยา การปรับตัวต่อการตายของคู่สมรสและความเป็นหม้าย
การปรับตัวในชีวิตทางเพศและการเปลี่ยนวัยของชาย
การปรับตัวต่อภาวะวิกฤติวัยกลางคนของหญิง
ในด้านความสัมพันธ์ของคนกลางคนต่อบุตรนั้นก็ต้องเปลี่ยนไป ระยะนี้คนวัยกลางคนมีความสัมพันธ์กับบุตรวัยรุ่น
วัยผู้ใหญ่ เขย สะใภ้
วิธีสัมพันธ์นั้นต้องมีลักษณะแตกต่างไปจากเมื่อลูกยังเป็นเด็กเล็ก
แต่วิธีใดจะเหมาะสมนั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลและครอบครัว
คนวัยกลางคนต้องให้ความโอบอุ้มดูแลพ่อแม่ของตนซึ่งเข้าสู่วัยชรา
อารมณ์ประจำวัยมีหลายประการที่สำคัญ เช่น
อารมณ์อยากกลับเป็นหนุ่มสาวอารมณ์เศร้าและลักษณะอารมณ์ของหญิงกลางคนเมื่อหมดระดู
คนวัยกลางคนควรมีกิจกรรมที่เป็นงานอดิเรกเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดและเตรียมตัวเตรียมใจเพื่อเข้าสู่วัยชราด้วยความสุขสงบในด้านต่างๆ
เช่น การดูแลรักษาสุขภาพ การจัดสวน เป็นต้น
วัยสูงอายุ ตั้งแต่อายุ 60 ปีขึ้นไป
วัยชราเป็นระยะสุดท้ายของชีวิตลักษณะพัฒนาการในวัยชราตรงกันข้ามกับระยะวัยเด็กคือเป็นความเสื่อมโทรม
(Deterioration) และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอมิใช่การเจริญงอกงาม
วัยชราเป็นระยะสุดท้ายของพัฒนาการของคน วัยชรามีความเสื่อมทางร่างกายอย่างเห็นได้ชัดความเสื่อมดังกล่าวส่งผลกระทบต่องานอาชีพ ลักษณะอารมณ์
ลักษณะสัมพันธภาพกับบุคคลในครอบครัวในสังคม แม้เป็นระยะแห่งความเสื่อม
แต่บุคคลก็อาจใช้ชีวิตวัยชราได้อย่างมีความสุขคือต้องมีการเตรียมตัวเตรียมใจที่จะเผชิญกับความชรา
รู้จักปรับตัวทางด้านร่างกาย อาชีพและสัมพันธภาพกับผู้อื่น
สังคมและครอบครัวจะมีส่วนช่วยให้ความสุขแก่คนชรา
แม้ว่าคนชราจะไร้ความสามารถด้านพละกำลังแต่คนชรายังมีค่าต่อคนหนุ่มสาว เพราะมากไปด้วยประสบการณ์และบทเรียนชีวิต มนุษย์แต่ละคนควรตั้งความหวัง
ความปรารถนาและเตรียมตัวเพื่อจะใช้ชีวิตยามบั้นปลายระยะวัยชราอย่างมีความสุข
อ้างอิง
https://www.krupatom.com/%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น