วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบเเละทบทวน


ตรวจสอบทบทวน(Review and Reflect on your learning)
        ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ The STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน

ขั้นที่1 N หมายถึง need assessment เป็นการกล่าวถึง จุดหมายการเรียนรู้
 S : 1. นักเรียนสามารถทราบถึงการเกิดของดินและคุณสมบติของดิน
                  2. นักเรียนสามารถทราบถึงสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
                  3. นักเรียนสามารถทราบองค์ประกอบต่างๆของดินได้
           T :  1. ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของดิน เพื่อกระตุ้นความสนใจและทดสอบความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน
                  2. ครูแจกใบความรู้ที่ 1.1 เกี่ยวกับส่วนประกอบของดินให้กับนักเรียน พร้อมทั้งอธิบาย ขั้นตอนการทำ
                  3. ครูให้นักเรียนดูวีดิโอ พร้อมกับทำใบงานที่1.3 ตามลำดับขั้นตอน
ขั้นที่2 P หมายถึง praxis หรือ Praxis หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติ
U : ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.1 ส่วนประกอบของดิน (1) โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
    1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วส่งตัวแทนออกไปรับตัวอย่างดิน 2 ชนิด จากครู
    2) นำตัวอย่างดินชนิดที่ 1 เทบนแผ่นกระดาษ ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเม็ดดินให้กระจายทั่วแผ่นกระดาษ
    3) ใช้แว่นขยายสังเกตเนื้อดิน สี รูปร่าง และขนาดของเม็ดดิน สิ่งที่ปะปนในดิน แล้วบันทึกผลลงในใบงาน
    4) หยิบเม็ดดินเล็กน้อยลงบนฝ่ามือ แล้วใช้นิ้วถูที่ดินว่ารู้สึกอย่างไร และบันทึกผล
    5) ให้นักเรียนนำดินชนิดที่ 2 มา แล้วทำเช่นเดียวกับดินชนิดที่ 1
    6) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
    7) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
                D : 1. ครูเปิด Video เพลงเมืองไทยเรานี้  ให้นักเรียนฟัง และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ดินในประเทศ (ในชุมชน) มีลักษณะที่ดีอย่างไร
                      เพลง เมืองไทยเรานี้
    เมืองไทยเรานี้                                 แสนดีหนักหนา
ในน้ำมีปลา                                        ในนามีข้าว
ทำมาหากิน                                        แผ่นดินของเรา
ปลูกเรือนสร้างเหย้า                              อยู่ร่วมกันไป
เราอยู่เป็นสุข                                      สนุกสนาน
เราสร้างถิ่นฐาน                                   เสียจนยิ่งใหญ่
เมืองไทยของเรา                                  แสนดีกระไร
เรารักเมืองไทย                                    ยิ่งชีพเราเอย
2. ครูนำภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ตามลักษณะของดินในแต่ละท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้ว   ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิดว่า ต้องมีลักษณะอย่างไร
3. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 1.3 สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
          1) ให้แต่ละกลุ่มสำรวจพืชที่ปลูกในท้องถิ่นมา 3 ชนิด
          2) ให้นักเรียนใช้เสียมขุดดินบริเวณที่ปลูกพืชทั้ง 3 ชนิด  เพื่อเก็บตัวอย่างดินใส่ถุง
          3) นำดินแต่ละแห่งมาสังเกต และบันทึกผล
 4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จนครบทุกกลุ่ม
 5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ในหัวข้อ
          1) ลักษณะเนื้อดิน
          2) สีของดิน
          3) ความพรุน
        I : การบูรณาการความรู้
                   1.  สาระภาษาไทย (สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับดิน สรุปความคิดรวบยอด)
                    2.  สาระภาษาต่างประเทศ  (คำศัพท์เกี่ยวกับองค์ประกอบของดิน)
 ขั้นที่3 U หมายถึง understanding ตรวจสอบความเข้าใจตามระดับคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์ในระดับต่างๆ
           E : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย สรุปเนื้อหาต่างๆที่นักเรียนยังมีข้อสงสัย ให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           S : ครูผู้สอนประเมินนักเรียนขณะทำการทดลองและการนำเสนอผลงานโดยการใช้แบบการประเมินตามความเหมาะสม ในแต่ละเรื่องและในแต่ละกลุ่มของผู้เรียนที่ทำกิจกรรม โดยดูจากความสามารถของนักเรียน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมิน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น