วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562

สรุป


           การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศจะเปลี่ยนการเรียนการสอนแบบเดิมที่เคยเป็นศูนย์กลางมาเป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้คือกระบวนการทางสังคมผู้เรียนจะต้องการเรียนรู้เพื่อให้ได้ความรู้หรือคำตอบการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และหาคำตอบจากสื่อสังคมออนไลน์การเรียนรู้ออนไลน์การสร้างสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ใหม่โดยใช้ความสามารถของอินเตอร์เน็ตเว็บสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรองรับรูปแบบการเรียนการสอนที่เปลี่ยนไปสภาพแวดล้อมที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้นสารสนเทศคือส่วนสำคัญการเรียนรู้สื่อดิจิทัลทำให้เกิดโอกาสในการช่วยให้ผู้เรียนรู้ถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับแหล่งสารสนเทศกลุ่มผู้เรียนเข้าด้วยกันผู้สอนจะต้องเรียนรู้และพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในปัจจุบันคืออีเลินนิ่งกล่าวคือจัดให้หรือส่งเสริมการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์และการเรียนรู้แบบเคลื่อนที่อำนวยความสะดวกให้ทางผู้สอนและผู้เรียนเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั่นคืออินเตอร์เน็ตซึ่งจะมามีบทบาทมากมายเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมต่างๆโดยจะมีผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งมีการคาดว่า IoE จะทำให้เกิดโอกาสมากมายด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นระดับล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐและคาดว่าจะมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการนำIoE มาใช้ในการปฏิวัติการศึกษาเพื่อสร้างรูปแบบของการเรียนการสอนของคนรุ่นใหม่จะยิ่งทำให้เกิดการต่อยอดการเรียนรู้อย่างไม่มีวันสิ้นสุด

แบบจำลองการเลือกสื่อ


          แบบจำลองการเลือกสื่อการเรียนการสอนมีหลายแบบ สำหรับการพิจารณาแต่ละแบบจะมีวิธีการเลือกสื่อที่ต่างกัน สิ่งที่น่าสังเกตคอ แต่ละแบบมีความต่างกันอย่างไร มีอะไรเป็นนัยของความแตกต่าง
          แบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน
          ในแบบจำลองของวิลเลี่ยม ออลเลน (William Allen) ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการจำแนกจุดประสงค์ และการจำแนกความสามารถสูงสุดของสื่อการเรียนการสอนที่จะพลิกแพลงให้เข้ากับจุดประสงค์ ออลเลน ได้ตรวจสอบประสิทธิผล สร้างตารางแจกแจงสองทาง
          แบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี
          ในแบบจำลองของเยอร์ลาชและอีลี (Gerlach and Ely) เป็นที่รู้จักกันในปีคศ 1971 ในตำราที่ชื่อว่าการสอนและสื่อ เยอร์ลาชและอีลี ได้นำเสนอเกณฑ์ ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนการสอนหลังจากที่ระบุจุดประสงค์และระบุพฤติกรรมความพร้อมที่จะรับการสอนแล้วเกณฑ์ดังกล่าวประกอบด้วยประการที่ ความเหมาะสมทางปัญญา(สื่อสามารถส่งผ่านตัวกระตุ้นตามเจตนารมณ์ของจุดประสงค์หรือไม่) ประการที่ระดับของความเข้าใจ(สื่อทำให้ผู้เรียนเข้าใจหรือไม่) ประการที่ราคาประการที่ ประโยชน์(เครื่องมืออุปกรณ์วัสดุมีประโยชน์หรือไม่)

การขยายขอบเขตการเรียนรู้ด้วยการวิจัยการเรียนรู้
ผู้สอนสามารถปรับปรุงความสามารถในด้านวิชาการของผู้เรียนด้วยการวิจัยการวิจัยการเรียนรู้จะช่วยให้ได้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าเงื่อนไขอะไรที่ทำให้มีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับที่ตนเผชิญอยู่ นักวิทยาศาสตร์พฤติกรรมใช้วิธีการในการศึกษาพฤติกรรมด้วยการสังเกตบุคคลในสถานที่กรณีที่หลากหลายด้วยการตั้งคำถามลึกๆเกี่ยวกับประสบการณ์มีการสำรวจประชากรกลุ่มใหญ่เพื่อที่จะตัดสินใจว่าประชากรเหล่านั้นชอบหรือไม่ชอบนักออกแบบสร้างและใช้แบบทดสอบสำหรับความสามารถและคุณลักษณะของคนจำนวนมากแต่สิ่งที่สำคัญที่สุดและเป็นการให้ผลต่อการศึกษาการเรียนรู้คือการทดลองซึ่งนักวิจัยระมัดระวังและควบคุมการศึกษาสาเหตุและผลที่ได้รับ
          แบบมโนทัศน์ของการวิจัยเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนเนื้อหาส่วนใหญ่ของงานวิจัยที่เกี่ยวกับตัวแปรการออกแบบการเรียนการสอนต้องไม่กว้างเกินไปโดยปราศจากของการจัดการ ริชชี ได้จัดกลุ่มงานวิจัยเกี่ยวกับตัวแปรการเรียนการสอนเป็น กลุ่มใหญ่คือผู้เรียนเนื้อหาวิชาสิ่งแวดล้อมและระบบการสอนการออกแบบการเรียนการสอนขึ้นอยู่กับธรรมชาติของความชี้เฉพาะในแต่ละกลุ่มอย่างหลากหลาย
ตารางที่ 21 ตัวอย่างของการปฏิบัติเชิงการเปลี่ยนแปลง

ข้อมูลป้อนกลับ Feedback  อีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้การผิดพลาดลดลงคือการให้ผู้เรียนได้รับรู้ที่ตอบสนองนั้นไม่ถูกต้องการรู้ว่าถูกหรือผิดจะช่วยให้ผู้เรียนแก้ไขการกระทำให้ถูกต้องระหว่างทดลองและเน้นไปที่ส่วนของพนักงานที่ต้องการกลั่นกรอง
          การเรียนรู้จากสื่อเคลื่อนที่
          เทคโนโลยีแบบเคลื่อนที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบพลวัตที่สร้างสรรค์การเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์กันภายใต้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียนในยุคที่ความเจริญก้าวหน้าของสื่อสารไร้สายนี้อุปกรณ์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ประเภทโน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือรวมถึงแท็บเล็ต กล้องถ่ายภาพดิจิตอล เครื่องเล่น MP3 หรือ MP4 และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆอีกมากมายในที่นี้เขาเรียกว่าสื่อเคลื่อนที่สามารถนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้ตอบสนองได้รวดเร็วมีปฏิสัมพันธ์แบบโต้ตอบให้ประสบการณ์ที่ดีเช่นในการสอนวิชาภาษาต่างประเทศสามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านสื่อเคลื่อนที่ดังกล่าวนี้ทั้งนี้ผู้เรียน ยังใช้ประโยชน์ในการส่งอีเมลหรือใช้ประโยชน์เพื่อการนันทนาการได้อีกด้วย

การตัดสินใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่/สื่อดิจิทัล


เทคโนโลยีใหม่เซ็นทรัลประกอบด้วยการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐาน การเรียนรู้ทางไกลที่อาศัยเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นพื้นฐาน การเรียนรู้ทางไกลเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนอยู่ในสถานที่ เทคโนโลยีใหม่มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบการตารางที่ 18 นิยามศัพท์เฉพาะและเทคโนโลยี
การพิจารณาเลือกซื้อ
มีหลักการทั่วไปจำนวนมากและข้อพิจารณาอื่นๆในการเลือกสื่อที่เหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนคือในการเลือกสื่อและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกสื่อ

ตารางที่ 18 ทางเลือกสำหรับสื่อดั้งเดิม

กฎในการเลือกสื่อ
การเลือกสื่อมีกฎอยู่ ข้อ หรือเรียกว่าหลักการทั่วไป ในการพิจารณาก่อนที่ตัดสินใจอย่างไม่เป็นทางการในการเลือกสื่อ
กฎที่ การเรียนการสอนโดยทั่วไปแล้วต้องการสื่อสองทาง (Two way medium) นักเรียนจะเรียนได้ดีเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับวัตถุ / สื่อการเรียนการสอน ครู สมุดทำงาน หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
กฎที่ สื่อทางเดียว (One – way media) ควรจะได้รับการสนับสนุน โดยสื่อที่ให้ข้อมูลป้อนกลับ ตัวอย่างคือ ภาพยนตร์ หรือวีดิทัศน์
กฎที่ การเรียนรู้ของแต่ละบุคคล ต้องการสื่อที่มีความยืดหยุ่น ตัวอย่างคือ ผู้ที่เรียนเช้าอาจจะต้องการสื่อการเรียนที่แตกแขนงออกไปเป็นพิเศษ เช่นการฝึกเสริม ( Remedial exercises)
          กฎที่ การนำเสนอโลกแห่งความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น นักเรียนพยาบาลเรียนรู้วิธีการตัดไหม
          กฎที่ พฤติกรรมที่คาดหวังหลังจากการเรียนการสอน ควรจะให้มีการฝึกปฏิบัติในระหว่างที่มีการเรียนการสอน การได้ยิน หรือการได้เห็นทักษะ
          กฎที่ เหตุการณ์แต่ละเหตุการณ์ของบทเรียนอื่นๆ ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีที่อยู่บนหลักของวิธีการทำหมัน
          ปัจจัยอื่นๆที่มีผลต่อการเลือกสื่อ
          ได้มีการเรียนรู้กฎซึ่งซึ่งจำเป็นในการพิจารณา เมื่อมีการเลือกสื่อการเรียนการสอนเป็นความจำที่มองหาปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกสื่อ
ตารางที่ 19 เทคโนโลยีใหม่

ตารางที่ 20 ข้อควรพิจารณาในการเลือกสื่อ

การเลือกและพัฒนาสื่อการเรียนการสอน

 คำว่าสื่อมีความหมายกว้างมากการเรียนการสอนในบางครั้งอาจเกิดขึ้นจากเสียงของผู้สอนตำราเทป วีดิทัศน์ ภาพยนตร์ และคอมพิวเตอร์ media มาจากภาษาละติน หมายถึงบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ตรงกลาง (Intermediate หรือ middel) หรือเครื่องมือ (instrument) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นวิธีการของการสื่อสารที่ส่งไปถึงประชาชนเป็นพาหนะของการโฆษณาดังนั้นเมื่อพิจารณาในด้านของการสื่อสารแล้ว จึงหมายถึงสิ่งที่เป็นพาหนะนำความรู้หรือสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดไปสู่ผู้รับเช่นวิทยุโทรทัศน์ภาพยนตร์รูปภาพวัสดุฉายสิ่งพิมพ์และสิ่งดังกล่าวนี้เพื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอนเราเรียกว่าสื่อการเรียนการสอน
          กลวิธีการสอนและการตัดสินใจเลือกซื้อเป็นความสัมพันธ์ระหว่างกันและควรจะทำไปพร้อมกันหลังจากที่ได้มีการกำหนดจุดหมายและวิเคราะห์ภาระงานแล้วแบบจำลองในการเลือกสื่อมีทั้งแบบที่มีความเรียบง่ายและแบบที่มีความซับซ้อน ผู้ซึ่งเป็นนักออกแบบการสอน เพื่อการค้าที่ประสบความสำเร็จ ได้กล่าวว่า กระดาษเป็นตัวกลางอย่างหนึ่งของการเลือกนอกจากว่าในกรณีที่ดีที่จะสามารถเลือกใช้สิ่งที่ทำจากอย่างอื่นวัสดุที่เป็นกระดาษมีราคาแพงในการออกแบบและผลิตในที่จะผลิตเพิ่มใช้ง่ายและนักเรียนส่วนใหญ่มีความเข้าใจสิ่งที่เป็นตัวอย่างของแบบจำลองง่ายๆสำหรับการเลือกเศษส่วนแบบจำลองที่ซับซ้อนด้วยวิธีการที่ส่วนใหญ่ควรจะหลีกเลี่ยงเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ของทหารก็คืออย่าโง่เลยทำให้ดูง่ายๆเถอะ (KISS : Keep It Simple , stupid)
          การนำเสนอสื่อการเรียนการสอน การกระตุ้นทางการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ง่ายแก่การเข้าใจสื่อที่ซับซ้อนมีแนวโน้มของการสิ้นเปลืองเวลาและค่าใช้จ่ายสูงได้บ่อยครั้งพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและเชื่อถือไม่ได้ที่ถูกที่สุดที่ทำให้ผู้เรียนรู้จุดประสงค์ตามเจตนารมณ์ภายในระยะเวลาที่สมควรอย่างไรก็ตามข้อความจำคือการสื่อราคาย่อมเยาว์ที่ผลิตไม่ดีทำให้การเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการใช้สื่อที่ซับซ้อนดังกล่าวแล้วเช่นกัน
          การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนเป็นเรื่องสำคัญอีกประการหนึ่งในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจเกี่ยวกับการเลือกวิธีการสื่อวิธีการเลือกวัสดุอุปกรณ์ระบบประโยชน์ของวัสดุอุปกรณ์ทางการค้าริเริ่มในเฝ้าระวัง
ผู้ออกแบบการเรียนการสอนต้องตัดสินใจว่าใครจะเป็นผู้ผลิตสื่อที่ในการผลิตควรจะประกอบไปด้วยใครบ้างผู้ออกแบบต้องริเริ่มเฝ้าระวังติดตามกระบวนการผลิตเป็นความรับผิดชอบของผู้ออกแบบที่จะต้องมีความแน่ใจในบูรณาการภาพของการออกแบบและคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ด้วยการเฝ้าระวังติดตามการผลิต
          ประเภทของสื่อ
สื่อสามารถจำแนกได้ ประเภทคือ (audio) ทางตา (visual) ทางหูและทางตารวมกันและสัมผัสผู้ออกแบบสามารถเลือกสีที่เหมาะสมที่สุดจากประเภทของสื่อต่างๆสำหรับภาระงานการเรียนการสอนที่มีความเฉพาะเจาะจงสื่อต่างๆทั้ง 4  ประเภทและตัวอย่างที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
           1 สื่อทางหูได้แก่เสียงของผู้ฝึกปฏิบัติการทางเสียงการเตรียมผู้แผ่นเสียงวิทยุกระจายเสียง
           2 สื่อทางตาได้แก่กระดานชอล์คกระดานแม่เหล็กกราฟคอมพิวเตอร์วัสดุต่างๆที่เป็นของจริงรูปภาพแผนภูมิกราฟภาพถ่ายจำลองสิ่งที่แจกให้ฟิล์มสไลด์แผ่นใส
           3 และทางใต้ได้แก่เทปวิดีโอทีวีวงจรปิดโปรแกรมโสตทัศน์วัสดุ สไลด์เทปภาพยนตร์เสียงในฟิล์มทีวีทั่วไปเทคโนโลยีอื่นๆเช่นดิจิทัล วิดีโอ อินเตอร์แอคทิฟเทคโนโลยี (digital video interactive technology)
           4 สื่ิอทางสัมผัส ได้แก่วัสดุของจริงแบบทดลองในการทำงานเช่นผู้แสดงสถานการณ์จำลอง
ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางประเภท
ในการเลือกสื่อที่มีความเหมาะสมที่สุดสำหรับภาระงานการเรียนรู้ที่มีความเฉพาะเจาะจงผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงความจำเป็นในข้อดีและข้อเสียที่เกี่ยวข้องกับสื่อแต่ละประเภทตารางที่ 16จะแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของตัวอย่างสื่อ ประเภท ตารางที่ 17แสดงประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน
           การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสื่อ
          การตัดสินใจเกี่ยวกับวิธีการและสีบางครั้งเกิดขึ้นพร้อมกันในบางเวลาจะเลือกวิธีการและเลือกสื่อที่จำเป็นในการใช้ทีหลัง ดูแกน เลียด (Dugan laird :180)เปรียบเทียบวิธีการว่าเป็นถนนทางหลวง (Highway) ที่นำไปสู่จุดหมายปลายทาง(จุดประสงค์)และสื่อ(วัสดุฝึก)เป็นสิ่งที่เพิ่มเติมบนทางหลวงเช่นสัญญาณแผนที่ซึ่งทำให้เกิดการเดินทางที่สะดวกขึ้น
          วิธีการเป็นกลยุทธ์การเรียนการสอนที่มีระดับความเฉพาะมากเป็นที่การเรียนการสอนที่ตัดสินธรรมชาติของบทเรียน joyce and weil (1980) เรียกสิ่ง เรียกว่าแบบจำลองการสอน (Model of  teaching ) แม่สลองเป็นวิธีการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้และระดับบทเรียนมากกว่าที่จะเป็นระดับหน่วยในหลักสูตร
ตารางที่ 16 ข้อดีและข้อเสียของสื่อบางชนิด



ตารางที่ 17  ประเภทและคุณสมบัติของสื่อการเรียนการสอน



การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อ
          สื่อเป็นพิธีการซึ่งมีการนำเสนอสารสนเทศและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในขณะที่ เป็นคำที่ใช้อ้างอิงแบบของการเรียนการสอนจึงเป็นความจำเป็นที่ต้องมีวัสดุอุปกรณ์ที่ส่งเสริมการเรียนการสอนนั้นในทางตรรกะและเป็นความจำเป็นทั้งส่วนที่เป็นอุปกรณ์และส่วนที่เป็นวัสดุสำหรับการเรียนรู้ที่อาศัยคอมพิวเตอร์พื้นฐานเช่นเดียวกันกับสื่อโทรทัศน์อาศัยโปรแกรมเป็นฐาน
          การตัดสินใจเกี่ยวกับสื่อสามารถทำตามหลัง หรือทำไปพร้อมกันกับการตกลงใจเกี่ยวกับวิธีการโดยทั่วไปแล้วจะทำตามหลังมีทางการป้องกันการบรรยายอาจจะต้องการองค์ประกอบของ อาจจะอยู่ในรูปแบบของโปรแกรมโทรทัศน์ในสมัยก่อนและอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นสื่อประเภทสิ่งพิมพ์
           ในตอนนี้จะกล่าวถึงการแบบวิธีการสื่อ ออกเป็นสารประเภทเชิงวิชาการสื่อดั้งเดิมและเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ในด้านวิธีการดำเนินสุดโดยทั่วไปอาจจะรวมกันแต่จะใช้สื่อร่วมกัน ส่วนสื่อเดิมๆจะรวมถึง สื่อโสตทัศน์ และสำหรับเทคโนโลยีใหม่ หรือสื่อดิจิทัลเพื่อการสื่อสารโทรคมนาคม และไมโครโปรเซสเซอร์ สื่อ สามารถจัดกลุ่มเป็นวัสดุสิ่งพิมพ์ ทัศนวัสดุไม่ฉาย สื่อแต่ละประเภทนี้สามารถเลือกได้ในหลายรูปแบบดังแสดงในตารางที่ 18 และตารางที่ 19

การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning )

D:การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล (Digital Learning) การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัล เป็นการเรียนรู้ผ่านเครือข่าย เช่น เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social networking) การแชร์ภาพ และการใช้อินเทอร์เน็ตแบบเคลื่อนที่ เป็นต้น การเรียนรู้จากสื่อดิจิทัลมีนัยมากกว่าการรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ยังครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับเนื้อหา(Content) จริยธรรม ละการสะท้อน (Reflection) ซึ่งฝังอยู่ในการเรียนรู้ การทำงานและชีวิตประจำวัน
          พระธรรมปิฎก (..ปยุตโต 2546 : 9-10) กล่าวว่า สังคมข่าวสารข้อมูลหรือสังคมสารสนเทศโลกมีข่าวสารข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางทั่วถึงรวดเร็วมาก ก็คิดว่าคนจะฉลาด คนจะมีปัญญา หากว่าไม่พัฒนาคนให้รู้จักรับและใช้ข้อมูลนั้น และกล่าวสรุปไว้ว่าจำแนกคนได้เป็นสามประเภท ดังนี้
          1.คนที่ตกเป็นเหยื่อ ในกรณีที่คนไม่พัฒนาสติปัญญาอย่างถูกต้องให้สามารถเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริง และสามารถถือเอาประโยชน์จากข่าวสารข้อมูลได้ก็จะเป็นโทษอย่างมาก ข่าวสารข้อมูลจะกลายเป็นเครื่องมือล่อเร้าและหลอกลวงทำให้คนเป็นเหยื่อ
2.กลุ่มที่รู้เท่าทัน คนจำนวนมากมีความภาคภูมิใจว่าตนตามทันข่าวสารข้อมูล มีข่าวสารข้อมูลอะไรออกมาก็ตามทันหมด ปรากฏว่าตามทันทั้งนั้น แต่ไม่รู้เท่าทัน และก็ถูกกระแสข่าวสารข้อมูลท่วมทับ พัดพาไป กรณีเช่นนี้ถ้ามีปัญญารู้เท่าทันก็จะทำให้ดำรงอยู่ท่ามกลางกระแสได้ เป็นผู้ที่ยืนหยัดตั้งหลักอยู่ได้
3.กลุ่มที่อยู่เหนือกระแส การรู้เท่าทันยังไม่พอ ควรที่จะสามารถทำได้ดีกว่านั้นอีก คือขึ้นไปอยู่เหนือกระแส เป็นผู้ที่สามารถนำเอาข้อมูลข่าวสารมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างแท้จริง คนกลุ่มนี้สามารถจัดการกับกระแส โดยทำการเปลี่ยนแปลงในกระแสหรือนำกระแสให้เดินไปในทิศทางใหม่ที่ถูกต้อง
ศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ (http://WWW.dlthailand.com/thima-khxng-khorngkar) อ้างอิงงานวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยว่าสาเหตุหลักส่วนหนึ่ง ของปัญหาคุณภาพการศึกษาไทย คือการที่ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันเป็นระบบที่ไม่เอื้อต่อการสร้างความรับผิดชอบ (Accountability) หลักสูตรและตำราเรียนของไทยไม่สอดคล้องกับ การพัฒนาทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills ) ซึ่งมีผลทำให้การเรียนการสอน ตลอดไปจนถึงการทดสอบยังคงเน้น การจดจำเนื้อหามากกว่าการเรียนเพื่อให้ มีความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง อีกทั้งสภาพการจัดการศึกษาของ ประเทศไทยในปัจจุบัน กำลังประสบปัญหาในด้านคุณภาพของนักเรียน ปรากฏอยู่ในหลายพื้นที่ ซึ่งมีสาเหตุจาก การขาดครูหรือครูไม่ควบชั้น ไม่ครบสาระการเรียนรู้ ครูมีประสบการณ์หรือทักษะการเรียนรู้น้อย ขาดสื่อ อุปกรณ์ที่ทันสมัยและการเข้าถึงได้ลำบาก ครูมีเวลาในการจัดการเรียนการสอนน้อย กิจกกรมของโรงเรียนมีมาก ทรัพยากรที่มีกระจัดกระจายไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า และการแก้ปัญหาต่างๆก็ทำได้ในวงจำกัด
กระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำ โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีกิจกรรมหลัก คือการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล โดยแบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย คือ การพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทางไกล ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (DLIT) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีทางไกล (Distance Learning) เป็นการจัดการศึกษาที่ใช้เทคโนโลยี ในการจัดการเรียนการสอนในทุกห้องเรียนแก้ปัญหา การขาดแคลนครูในโรงเรียนขนาดเล็กครูสามารถจัดการเรียนรู้ในทุกสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพนักเรียนและครูได้เข้าถึงสื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัยนักเรียนและครูมีเครือข่ายในการแลกเปลี่ยนความรู้และทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาการนำเทคโนโลยีการศึกษาทางไกล (Distance Learning) มายกระดับคุณภาพการศึกษาเป็น รูปแบบได้แก่การจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมและการจัดการศึกษาทางไกลผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ (Distance Learning viainformation Techology : DLIT) มาดำเนินงานโดยเร่งด่วนเพื่อแก้ปัญหาคุณภาพทางการศึกษาโดยมีการจัดสภาพและการสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างครบถ้วนทั้งกระบวนการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการสร้างความรู้การลงมือปฏิบัติเนื้อหาตลอดจนสื่อและอุปกรณ์ที่จำเป็นในการจัดการเรียนการสอนอันจะเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้กับประชาชนไทยทุกคนอันเป็นการดำเนินการตามรอยเบื้องพระยุคลบาทและสนองพระราชดำริในการที่จะพัฒนาการศึกษาไทยให้เจริญก้าวหน้า
เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ (การศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล บทความไอที 24 ชั่วโมงวันที่ 25พฤศจิกายน  2016)  ได้เสนอบทความเรื่องการศึกษาจะถูกเปลี่ยนในยุคเศรษฐกิจดิจิทัลสรุปความว่าเทคโนโลยีที่โดดเด่นที่กำลังทำให้สิ่งของทุกสรรพสิ่งบนโลกสามารถเชื่อมต่อกันได้นั้นคือ internet of Everything (IoE) IoEสภาพแวดล้อมแห่งการเรียนรู้ที่มีการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนและผู้สอนมากกว่าในอดีตที่ผ่านมาเช่นนักศึกษาที่อาศัยอยู่ในลอนดอนสามารถร่วมรับฟังการบรรยายจากสถาบันการศึกษาในสหรัฐอเมริกาได้โดยอาศัยอุปกรณ์สื่อสารที่ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการเรียนโดยข้อมูลการเรียนรู้และข้อมูลทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดให้ตลอดเวลาข้อมูลในสื่อการสอนต่างๆที่มีอยู่จะถูกนำมาใช้ร่วมกันในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่จะส่งผลกระทบต่อวิธีการและสถานที่ที่ใช้ในการเรียนรู้ดังนั้นผู้เรียนจะต้องเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้เศรษฐกิจที่เฟื่องฟูทำให้IoE มีความจำเป็นมากกว่าทักษะและจำนวนของผู้เชี่ยวชาญอีกทั้งการเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นโดยIoE จะทำให้สามารถนำมาใช้ประเมินประสิทธิภาพของผู้เรียนสามารถออกแบบแบบฝึกหัดทดสอบเพื่อทดสอบจุดอ่อนและจุดแข็งของผู้เรียนและผู้เรียนสามารถประเมินศักยภาพได้ด้วยตนเอง นอกจากนี้ IoE อยากสามารถเปลี่ยนวิธีการเรียนรู้ของผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสติปัญญาเช่นในประเทศออสเตรเลียนำเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ไปใช้ในโรงเรียนสอนผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายโดยเซ็นเซอร์จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงวิธีการเรียนรู้ภาษามือของผู้เรียนและใช้ในการปรับปรุงการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนสมาธิสั้นด้วยการตรวจเช็คการทำงานของสมองและการให้รางวัลสำหรับผู้เรียนที่มีพัฒนาการเรียนที่ดีขึ้น
คณะกรรมการอิสระการศึกษา( กอปศ สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษาข่าวประชาสัมพันธ์วันที่ 4พฤษภาคม 2561) ได้นำเสนอ Digital Learning Platformแนวทางการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์และการใช้สื่อดิจิทัล เพื่อการปฏิรูปการศึกษา ณ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาสรุปในเรื่องของการศึกษาสิ่งแรกที่ต้องกระทำคือปรับกระบวนทัศน์ (Paradigm) ให้ชัดเจนชัยชนะเกิดขึ้นได้อยู่ที่ Big Data ซึ่ง Big Data  ในที่นี้ความหมายที่ถูกต้องคือข้อมูลที่เอามาวิเคราะห์ได้เอาไปใช้ประโยชน์ในการบริหารได้โดยสะดวกไม่ใช่หมายถึงข้อมูลจากคอมพิวเตอร์แม่ข่าย  Big Data จิตวิทยาในการจัดการศึกษาเป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้ ต้องออกแบบในสิ่งที่ผู้เรียนอยากเรียนไม่ใช่ออกแบบอย่างที่เราต้องการต้องสร้างความเข้มแข็งจากภายในเพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยให้ความสนใจกับผู้ใช้ (User) และผู้เรียน (Learner)
กระทรวงศึกษาธิการต้องสร้างโจทย์และผู้เรียนอยากรู้อะไรที่ไม่เคยรู้และไม่เคยคิดว่าจะมีทางทำได้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนฐานสำคัญ ด้านได้แก่
          1 Digital  Infrastructure การวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้ดำเนินการโครงการเน็ตประชารัฐเข้าถึงพื้นที่ระดับชุมชน
          2 คนกับดิจิทัล ต้องมีการฆ่าคนในระดับต่างๆการศึกษาต้องจัดคู่กับความต้องการของด้านแรงงานให้เหมาะสมและมีความต้องการคนทำงานที่มีคุณสมบัติอย่างไรและด้านใดบ้างเพราะจะเห็นได้ว่าในบางธุรกิจเช่นธุรกิจธนาคารหรืออุตสาหกรรมคนเริ่มถูก AI เข้ามาแทนที่
          3 Big Data ในภาครัฐต้องมีการบูรณาการ ข้อมูลระหว่างกันเพื่อนำมาวิเคราะห์ออกแบบและวางแผนด้านการเชื่อมโยงข้อมูลการผลิตกำลังคนในระบบการศึกษาตอบโจทย์ความต้องการแรงงานในภาคอุตสาหกรรมเป็นต้น
          4 Cyber Security ต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
          5 internet of things( IoT) มหาวิทยาลัยต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยี iot อย่างเร่งด่วน
อติพร เกิดเรือง (2560) ได้เสนอผลการศึกษาเรื่องการส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมไทยในยุคดิจิทัล (วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง 173 - 184 ) สรุปดังนี้
การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อรองรับสังคมในยุคดิจิทัลมี องค์ประกอบหลักคือ
1.1 การเรียนรู้เกี่ยวกับดิจิทัล
1.2 การคิดสร้างสรรค์
1.3 การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
1.4 ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง
การเรียนรู้จากจุดเดิมสู่ยุคดิจิทัลต้องจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเรียนการทำงานและการดำรงชีวิตเน้นการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตส่งเสริมการค้นคว้าด้วยตนเองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มากที่สุด ผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะแนวทางในการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการวัดผลประเมินผลพัฒนาการมากกว่าการวัดผลสัมฤทธิ์
 3 การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลต้องคำนึงถึงการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเป็นการสร้างสรรค์ปรับแต่งการเรียนรู้การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนเป็นการใช้เครือข่ายออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สร้างสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนพบประสบการณ์จริงเนื้อหาการเรียนรู้ควรมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายออนไลน์สามารถสร้างองค์ความรู้แบ่งปันความรู้และเนื้อหาสารเครือข่ายออนไลน์และส่งเสริมความรู้ในเรื่องของการทำงานมากขึ้น

ความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร

1.ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นระหว่างรูปดอกบัวกับรูปเพชร 
2.              
ความคิดเห็น เพชรนั้นเวลามองจะทำให้มีความรู้สึกว่าสวยงามดูสุกสกาวและสว่างสดใส เเละคนส่วนใหญ่ให้เพชรเป็นตัวนำโชค เพราะเป็นเครื่องประดับชั้นดีทำให้ผู้ที่ได้สวมใส่เกิดความศรัทธาเเละบุญบารมีเป็นอย่างสูง เพชรจึงเป็นสิ่งที่มีค่าเเละมีความหมายที่ดีคู่ควรต่อการนำมาทำเป็นสัญลักษณ์ต่างๆเพื่อสื่อความหมาย
ความคิดเห็น ดอกบัวให้ความหมายที่ดีแทนความบริสุทธิ์ จิตใจที่ผ่องเเผ้วสดใสไม่หมองมัว ความศรัทธา เเละยังหมายถึงการตรัสรู้บรรลุธรรมเมื่อเปรียบกับดอกบัวที่เคยอยู่ใต้โคลนตมได้โผล่พ้นน้ำออกมาเบ่งบานรับเเสงตะวัน

    2.ให้อิสระในการเลือกภาพว่าชอบภาพไหนเพราะอะไรให้เหตุผล
ดอกบัว เพราะมีความสง่างามเเละยังมีความหมายที่ดีหลายอย่างเนื่องด้วยดอกบัวถือเป็นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคยมาเเต่โบราณ มีความเป็นศิริมงคล เเละเป็นดอกไม้ประจำพุทธศาสนา ซึ่งมีคำสอนของพระพุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า "แม้จะเกิดในโคลนตม แต่เมื่อดอกโผล่พ้นน้ำขึ้นมารับแสงสว่างแล้ว ก็สามารถผลิกลีบดอกบานสะอาดสวย และส่งกลิ่นหอมได้อย่างบริสุทธิ์ผุดผ่องเสมือนมนุษย์เมื่อเกิดมาแล้ว หากเข้าถึงธรรมก็สามารถหลุดพ้นจากกิเลสและความทุกข์ทั้งปวงได้" เป็นปรัชญาคำสอนที่ดีที่เหมาะเเก่การนำมาใช้ในการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2562

ตรวจสอบเเละทบทวน


ตรวจสอบทบทวน(Review and Reflect on your learning)
        ในการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ขั้น การออกแบบการเรียนการสอนที่เป็นสากล ปฏิบัติการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ด้วยเขียนแผนการสอนตามรูปแบบ The STUDIES Model ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสาขาวิชาเอกที่เรียน โดยกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ และจัดหาหรือผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบบทเรียน

ขั้นที่1 N หมายถึง need assessment เป็นการกล่าวถึง จุดหมายการเรียนรู้
 S : 1. นักเรียนสามารถทราบถึงการเกิดของดินและคุณสมบติของดิน
                  2. นักเรียนสามารถทราบถึงสมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืช
                  3. นักเรียนสามารถทราบองค์ประกอบต่างๆของดินได้
           T :  1. ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับส่วนประกอบต่างๆของดิน เพื่อกระตุ้นความสนใจและทดสอบความรู้พื้นฐานเดิมของนักเรียน
                  2. ครูแจกใบความรู้ที่ 1.1 เกี่ยวกับส่วนประกอบของดินให้กับนักเรียน พร้อมทั้งอธิบาย ขั้นตอนการทำ
                  3. ครูให้นักเรียนดูวีดิโอ พร้อมกับทำใบงานที่1.3 ตามลำดับขั้นตอน
ขั้นที่2 P หมายถึง praxis หรือ Praxis หมายถึง การกระทำหรือการปฏิบัติ
U : ครูให้นักเรียนทำกิจกรรมในใบงานที่ 1.1 ส่วนประกอบของดิน (1) โดยปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
    1) แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน แล้วส่งตัวแทนออกไปรับตัวอย่างดิน 2 ชนิด จากครู
    2) นำตัวอย่างดินชนิดที่ 1 เทบนแผ่นกระดาษ ใช้ไม้จิ้มฟันเขี่ยเม็ดดินให้กระจายทั่วแผ่นกระดาษ
    3) ใช้แว่นขยายสังเกตเนื้อดิน สี รูปร่าง และขนาดของเม็ดดิน สิ่งที่ปะปนในดิน แล้วบันทึกผลลงในใบงาน
    4) หยิบเม็ดดินเล็กน้อยลงบนฝ่ามือ แล้วใช้นิ้วถูที่ดินว่ารู้สึกอย่างไร และบันทึกผล
    5) ให้นักเรียนนำดินชนิดที่ 2 มา แล้วทำเช่นเดียวกับดินชนิดที่ 1
    6) ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน
    7) ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม
                D : 1. ครูเปิด Video เพลงเมืองไทยเรานี้  ให้นักเรียนฟัง และทำท่าทางประกอบเพลงตามจินตนาการ แล้วให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายว่า ดินในประเทศ (ในชุมชน) มีลักษณะที่ดีอย่างไร
                      เพลง เมืองไทยเรานี้
    เมืองไทยเรานี้                                 แสนดีหนักหนา
ในน้ำมีปลา                                        ในนามีข้าว
ทำมาหากิน                                        แผ่นดินของเรา
ปลูกเรือนสร้างเหย้า                              อยู่ร่วมกันไป
เราอยู่เป็นสุข                                      สนุกสนาน
เราสร้างถิ่นฐาน                                   เสียจนยิ่งใหญ่
เมืองไทยของเรา                                  แสนดีกระไร
เรารักเมืองไทย                                    ยิ่งชีพเราเอย
2. ครูนำภาพการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ตามลักษณะของดินในแต่ละท้องถิ่นมาให้นักเรียนดู แล้ว   ร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับ สมบัติของดินที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิดว่า ต้องมีลักษณะอย่างไร
3. ครูให้นักเรียนทำชิ้นงาน/ภาระงานที่ 1.3 สมบัติของดินที่เหมาะแก่การปลูกพืช โดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4-5 คน โดยให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรม ดังนี้
          1) ให้แต่ละกลุ่มสำรวจพืชที่ปลูกในท้องถิ่นมา 3 ชนิด
          2) ให้นักเรียนใช้เสียมขุดดินบริเวณที่ปลูกพืชทั้ง 3 ชนิด  เพื่อเก็บตัวอย่างดินใส่ถุง
          3) นำดินแต่ละแห่งมาสังเกต และบันทึกผล
 4. ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มผลัดกันออกนำเสนอผลงานที่หน้าชั้นเรียน จนครบทุกกลุ่ม
 5. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรม ในหัวข้อ
          1) ลักษณะเนื้อดิน
          2) สีของดิน
          3) ความพรุน
        I : การบูรณาการความรู้
                   1.  สาระภาษาไทย (สนทนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับดิน สรุปความคิดรวบยอด)
                    2.  สาระภาษาต่างประเทศ  (คำศัพท์เกี่ยวกับองค์ประกอบของดิน)
 ขั้นที่3 U หมายถึง understanding ตรวจสอบความเข้าใจตามระดับคุณภาพเมื่อเทียบกับเกณฑ์ในระดับต่างๆ
           E : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย สรุปเนื้อหาต่างๆที่นักเรียนยังมีข้อสงสัย ให้เกิดความเข้าใจและสามารถนำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของนักเรียนเพื่อเป็นการนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
           S : ครูผู้สอนประเมินนักเรียนขณะทำการทดลองและการนำเสนอผลงานโดยการใช้แบบการประเมินตามความเหมาะสม ในแต่ละเรื่องและในแต่ละกลุ่มของผู้เรียนที่ทำกิจกรรม โดยดูจากความสามารถของนักเรียน เพื่อเป็นเกณฑ์ในการประเมิน